ตรัง   ผู้ว่าฯ ประชุมพิจารณาร่างแผนเผชิญเหตุภัยแล้งและแผนเผชิญเหตุไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละออง

ตรัง   ผู้ว่าฯ ประชุมพิจารณาร่างแผนเผชิญเหตุภัยแล้งและแผนเผชิญเหตุไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ประจำปี 2564

(11 ก.พ.2564) นายขจรศักดิ์ เจริญโสภา ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง เป็นประธานในการประชุมพิจารณาร่างแผนเผชิญเหตุภัยแล้งและแผนเผชิญเหตุไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ประจำปี 2564 ณ ห้องพระยารัษฎา ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดตรัง
ด้วยในช่วงปลายฤดูหนาวของทุกปี ประเทศไทยจะเกิดสถานการณ์ฝุ่นละอองเกินมาตรฐานในหลายพื้นที่ โดยมีสาเหตุมาจากกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งโดยธรรมชาติ และกิจกรรมของมนุษย์ และกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติติดตามสภาพอากาศร่วมกับกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่า ปี 2564 ประเทศไทยจะเข้าสู่ฤดูร้อนตั้งแต่ประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นไป ส่งผลให้อุณหภูมิจะเริ่มสูงขึ้น และตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นไปจะมีอากาศร้อนอบอ้าวและแห้ง ความชื้นในอากาศมีน้อยและมีอากาศร้อนจัดเป็นบางวัน ทั้งนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ได้ฝากย้ำหัวหน้าส่วนราชการที่คนไทยเชื้อสายจีนส่วนใหญ่จะเดินทางกลับบ้าน จึงขอฝาก คือ 1.ส่วนราชการต้องมีเวรยามอยู่ ของอำเภอ จังหวัด ต้องมีเวรยามอยู่ 2.เลิกงานจะต้องตรวจสอบเรื่องของปลั๊กไฟ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่อพ่วง กาน้ำร้อน ที่เสียบหรือที่ชาร์ตแบตโทรศัพท์ทั้งหมด ให้ดำเนินการถอดให้หมด เพราะมีวันหยุด 3 วัน ช่วงนี้อากาศร้อนด้วยและเป็นสาเหตุของเพลิงไหม้


ในการประชุมครั้งนี้จะคุยเรื่องปัญหาภัยแล้วและปัญหาหมอกควัน เรื่องของภัยแล้ง การเตรียมการณ์ การคาดการณ์ การเตรียมความพร้อมของหน่วยงานต่าง ๆ วันนี้ทางกองบัญชาการป้องกันสาธารณภัยแห่งชาติได้วางกรอบโครงการ วางกรอบแนวทางในการดำเนินงานของเรื่องภัยแล้งไว้ ทุกจังหวัดจะต้องมีเรื่องของกลไกในเรื่องขอทำงาน เรื่องของการป้องกันภัยแล้ง อันนี้จะเป็นกลไกในการทำงาน
เรื่องของกลไกคณะทำงาน เรื่องของคณะกรรมการติดตามแก้ปัญหาหมอกควันเหมือนกัน นอกจากในเรื่องของกลไกในการทำงานแล้ว ก็จะเป็นการช่วยกันดูเรื่องชอง ปภ.ในฐานะเลขาได้ยกร่างแผนเผชิญเหตุของภัยแล้งไว้กับร่างของแผนเผชิญเหตุขอหมอกควันและฝุ่นละออง๕ขนาดเล็ก ซึ่งดูแล้วน่าจะเป็นแผนเผชิญเหตุที่เราเคยทำในเรื่องของอุบัติเหตุจราจร แต่สิ่งสำคัญที่อยากจะฝากในเรื่องของปัญหาแผนก็คือแผน แต่สิ่งสำคัญที่จะฝากทางอำเภอและส่วนที่เกี่ยวข้องก็คือ ถ้าเป็นเรื่องของภัยแล้ง อำเภอต้องรู้ว่าพื้นที่ไหนตอนนี้ที่ฝนทิ้งช่วง กองบัญชาการสาธารณภัยแห่งชาติ ได้ประสานกับกรมอุตุนิยมวิทยา ปีนี้แล้งแบบน่ากลัว อีสานแม่น้ำโขงลดลงต่ำมากจนถึงขั้นที่วิกฤติพอสมควร เพราะฉะนั้นพื้นที่อำเภอไหนที่แล้งซ้ำซากที่เป็นข้อมูลที่แล้งอยู่แล้ว ตอนนี้ต้องเตรียมความพร้อมในเรื่องของแผนการโครงการแก้ไขปัญหาไว้ล่วงหน้า จะต้องช่วยเหลือพี่น้องประชาชนอย่างไรที่จะต้องใช้น้ำเพื่อการเกษตร และเพื่อการอุปโภคบริโภค ปัญหาต่างพื้นที่ไม่เหมือนกัน เรื่องน้ำ ทุกปีที่ทำแผนน้ำส่ง สนทช. ปีนี้จะทำเรื่องของระบบจัดการน้ำใหม่ เพื่อให้เป็นระบบเป็นภาพรวมในการแก้ปัญหาเรื่องน้ำโดยการแก้ปัญหาให้ตรงจุด ตรงปัญหา

ซึ่งตอนนี้ได้กรุ๊ปน้ำไว้ 3 ด้าน คือ 1.แต่งตั้งเป็นคณะทำงานด้านบริหารจัดการน้ำในเรื่องของภัยแล้งและอุทกภัย มี นายไพบูลย์ โอมาก รองผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง เป็นประธาน ชุดนี้จะดูเรื่องของปัญหาภัยแล้งกับอุทกภัย เป็นชุดใหญ่ของจังหวัดที่ดูทั้ง 10 อำเภอ โครงสร้างชุดนี้จะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีนายอำเภอทุกอำเภอเป็นคณะกรรมการ โดยสำรวจว่าปัญหาน้ำท่วมอยู่จุดไหนที่เป็นภาพรวม แนวทางแก้อย่างไร จุดไหนที่เป็นลุ่มน้ำของจังหวัดตรัง แล้วทำให้กระทบเรื่องของน้ำท่วม หรือจุดไหนที่เป็นลุ่มน้ำของจังหวัดตรังแล้วสามารถเก็บกักน้ำได้ ทั้งนี้ได้มอบหมายให้ทางชลประทานไปสำรวจดูว่าน้ำท่วมคราวที่แล้วแต่ละจุดมีระบบเตือนภัยไหมระบบ Warning ให้ไปดูว่ามีระบบที่สามารถเตือนภัยเรื่องของระบบน้ำได้หรือไม่ หรือ ลุ่มน้ำในเขตของชลประทานตรงไหนที่สามารถดึงน้ำไปช่วยพื้นที่เกษตรแปลงใหญ่หรือพื้นที่ที่มีการเกษตร ชุดที่ 2 เป็นชุดน้ำเพื่อการเกษตร มีนายภูวนัฐ สมใจ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน มีนายอำเภอทั้ง 10 อำเภอเป็นคณะกรรมการ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ชุดนี้เน้นเรื่องเกษตร

ซึ่งทางสำนักงานเกษตรได้รวบรวมข้อมูลมาแล้วว่า มีพื้นที่เกษตรแปลงใหญ่ 51 แห่ง มีบางพื้นที่น้ำไม่พอ สุดท้ายน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค ให้ นายภูวนัฐ สมใจ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน โดยให้ไปดูพื้นที่ที่เป็นพื้นที่แก้มลิงหรือแหล่งน้ำที่ต้องผลิตเพื่อการอุปโภค บริโภค ทางสำนักงานการประปาซึ่งมี 4 แห่ง ได้จัดทำแผนเรื่องน้ำ แต่ก็ต้องดูว่าแผนนั้นคืออะไร มีปัญหาอุปสรรคอย่างไรในเรื่องการของบประมาณ ชุดที่ 4 ชุดนี้คือชุดคณะทำงานทรัพยากรน้ำในระดับอำเภอ ตั้งทุกอำเภอโดยมีนายอำเภอเป็นประธาน ชุดนี้ให้ดำเนินการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลและปัญหา ทั้งนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดตรังจะจัดสรรงบประมาณโดยเรียงลำดับความสำคัญ พื้นที่ไหนเรื่องของน้ำท่วม พื้นที่ไหนที่มีปัญหาเรื่องภัยแล้ง พื้นที่ไหนที่มีปัญหาเรื่องการเกษตร ขอให้ทางอำเภอรวบรวมปัญหาและแนวทางแก้ไขโดยพบปะพูดคุยกับชาวบ้านเกษตรกร และเสนอแนวทางแก้มาด้วย อะไรที่เป็นแนวทางแก้ปัญหาให้สรุปมาว่าไหนก่อน ไหนหลัง นายอำเภอต้องรู้ว่าปัญหาในพื้นที่เรื่องน้ำอะไรที่เป็นปัญหาวิกฤติหนักเรียงลำดับมา ต้องจัดประเด็นปัญหาและหาแนวทางให้ได้

เรื่องของหมอกควันและฝุ่นละออง ส่วนใหญ่เป็นปัญหาทางภาคกลางและภาคเหนือ ซึ่งเกิดจากการเผาตอซังข้าวโพด ส่วนทางภาคใต้เป็นเรื่องของไฟไหม้ป่า ซึ่งมาจากทางอินโดนีเซีย แต่ช่วง 2-3 ปีไม่มีแล้ว แต่เนื่องจากเป็นปัญหาระดับประเทศและกระทบหลายจังหวัด ตอนนี้ทางกรุงเทพฯ โควิด เริ่มซา PM 2.5 เริ่มมา แต่ในส่วนของจังหวัดตรังเป็นแผนเพื่อเตรียมความพร้อมเพื่อจะแก้ปัญหาเรื่องของภัยแล้งมากกว่าหมอกควัน
มนต์เจริญ. ศรีมงคล จ.ตรัง