ตรัง เกษตรและสหกรณ์จังหวัด ส่งเสริมให้เกษตรกรทำเกษตรอินทรีย์

สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดตรัง ส่งเสริมให้เกษตรกรในจังหวัดตรัง หันมาทำเกษตรอินทรีย์ เนื่องจากเป็นที่ต้องการของตลาด อีกทั้งผู้บริโภคใส่ใจเรื่องสุขภาพมากขึ้น ซึ่งพืชผักเกษตรอินทรีย์ลดสารตกค้างจากสารเคมี
นายจรูญศักดิ์ สุขขุม เกษตรและสหกรณ์จังหวัดตรัง กล่าวว่า ในระดับโลกองค์การสหประชาชาติได้กำหนดไว้ว่าในเรื่องของพัฒนาอาหารในตัว SDGs ซึ่งกำหนดไว้ 17 เป้าหมาย เป้าหมายหนึ่งในเรื่องของความปลอดภัย ในเรื่องอาหาร ในเรื่องด้านการเกษตร ซึ่งเป็นตัวกำหนดมา เมื่อกำหนดมาแล้วโลกก็จะดูใน 4 เรื่อง. ความพอเพียงของอาหาร การเข้าถึงอาหาร ความมีเสถียรภาพของอาหารและประโยชน์และคุณค่าของอาหาร ในส่วนของประเทศไทย ซึ่งเราได้กำหนดไว้ในแผนชาติ 20 ปี กำหนดในเรื่องของเกษตรอัจฉริยะ เกษตรปลอดภัย เกษตรชีวภาพ เกษตรแปรรูป เกษตรนิเวศน์ ส่วนแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ระดับจังหวัดตรัง

ต้องผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพ มีความมั่นคง และมีความยั่งยืน โดยมีเรามีเป้าหมายที่กำหนดในพื้นที่การเกษตรอินทรีย์ในปี 2565 โดยกำหนดพื้นที่ 6,750 ไร่ จังหวัดตรังมีแผนเกษตรอินทรีย์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เรามีเป้าหมายในเรื่องของการเพิ่มคนว่าคนที่ผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์คนต้องเพิ่มขึ้น การเพิ่มสินค้าที่ผลิตด้านการเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้น ปัจจุบันเรามีเป็นข้าวส่วนใหญ่ ไม้ผล พืชผัก เกษตรผสมผสานที่เรามีอยู่ในขณะนี้ ดังนั้น ชนิดสินค้าที่เรากำหนดเป็นทางเลือกขึ้นมาจะต้องเพิ่มขึ้น เช่นที่เราจะส่งเสริมในเรื่องของพืชทางเลือกใหม่ เช่นว่า พริกไทยพันธุ์ปะเหลียน แตงโมงเกาะสุกร ข้าวเบายอดม่วง พวกนี้เราจะผลิตและส่งเสริมในเรื่องของเกษตรอินทรีย์ทั้งหมด


สำหรับการกำหนดแนวทางการพัฒนาเกษตรอินทรีย์นั้น ได้กำหนดไว้ 3-4 ประเด็น ประเด็นแรกต้องพัฒนาคนแน่นอน ในแผนพัฒนาเกษตรอินทรีย์ พัฒนาคน คนต้องมีคนต้องมีความรู้ทั้งคนที่ผลิต และคนที่บริโภค ต้องมีความรู้ และคนที่นำสินค้ามาจำหน่ายต้องมีความรู้ เราจะพัฒนาในเรื่องของผลิตภัณฑ์ ก็คือเกษตรอินทรีย์ให้ได้มาตรฐาน เพราะเกษตรอินทรีย์มีมาตรฐานต้องดูตลาด ตลาดนั้นต้องการเกษตรอินทรีย์ชนิดไหน เช่น ตลาดยุโรป ตลาดอเมริกา ตลาดญี่ปุ่น หรือแม้แต่ออร์แกนิกไทยแลนด์ซึ่งเป็นมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของประเทศไทย ก็ต้องมีมาตรฐานของตัวนี้รองรับ นั่นก็คือในตัวสินค้าต้องมีการพัฒนาสินค้า ขณะนี้ทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชนโดยเฉพาะคนที่บริโภคสินค้า มีความจำเป็นในเรื่องการประชาสัมพันธ์ การเข้าถึงและช่องทางจำหน่ายก็เพิ่มขึ้นในตัวที่เราได้ทำแผนไว้

ขณะนี้ในเรื่องของตลาดเกษตรอินทรีย์เป็นตลาดที่กำลังโตและขยายอย่างรวดเร็ว หรือเรียกว่าอย่างก้าวกระโดด ทั้งในประเทศไทย ต่างประเทศ และทั้งกลุ่มลูกค้าที่เกษตรกรบ้านเราเองก็ต้องหันมาในเรื่องของสุขภาพเป็นตัวหลัก ตอนนี้คำนึงถึง เรารู้ว่าโรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมาจากสิ่งแวดล้อมที่มีปัญหา และเกิดจากการบริโภคสินค้าที่มีปัญหา ดังนั้นตัวนี้เป็นตัวที่จะทำให้ความต้องการในเรื่องสินค้าอินทรีย์มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย และเป็นช่องทางโอกาสของกลุ่มเกษตรกรของเราที่ผลิตสินค้า เพราะการผลิตสินค้าอินทรีย์ไม่ใช่ผู้บริโภคปลอดภัย คนผลิตก็ต้องปลอดภัยด้วย และตัวที่สำคัญที่สุดก็คือพื้นที่ต้องหลังจากผลิตพวกนี้แล้ว พื้นที่ที่จะมีความยั่งยืนมากขึ้น ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก็จะเป็นมิตรกับเราและจะมีความยั่งยืนสู่ลูกหลานของเราต่อไปในอนาคต
มนต์เจริญ ศรีมงคล จ.ตรัง