สุพรรณบุรี สาธารณสุขสุพรรณเตือนระวังไข้เลือดออก-ชิคุนกุนยา ระบาด

สุพรรณบุรีสาธารณสุขสุพรรณเตือนระวังไข้เลือดออก-ชิคุนกุนยา ระบาด
กรมควบคุมโรค ออกมาเตือนเรื่องโรคและภัยสุขภาพ ระหว่างวันที่ 7-13 มิ.ย.63 คาดว่าช่วงนี้จะมีจำนวนผู้ป่วยโรคไข้ปวดข้อยุงลายเพิ่มขึ้น จากการที่มีฝนตกในหลายพื้นที่ของประเทศไทย เตือน พื้นที่ภาคใต้ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการระบาด ยังคงมีฝนตกอย่างต่อเนื่อง และมีการแพร่กระจายของโรคไปยังจังหวัดอื่นจากผู้ที่เดินทางกลับจากพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคไข้ปวดข้อยุงลายหรือโรคชิคุนกุนยา ซึ่งเป็นโรคติดต่อนำโดยแมลง มียุงลายเป็นพาหะ


ที่ จ.สุพรรณบุรี นายมนูญ ศูนย์สิทธ์ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี ได้ออกมาเปิดเผยว่าตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายน ที่ผ่านมาได้เกิดสถานการณ์การระบาดของโรคชิคุนกุนยาหรือที่รู้จักกันว่า โรคไข้ปวดข้อยุงลาย ขึ้นในพื้นที่ จ.สุพรรณบุรี โดยเริ่มที่ อ.ด่านช้าง ทุกตำบล ที่ อ.หนองหญ้าไซ พบผู้ป่วย 1 ใน 3 หมู่บ้าน ซึ่งมีพื้นที่ติดกับ อ.ด่านช้าง อ. ศรีประจันต์ 1 หมู่บ้าน ที่ อ.เมือง และ อ.เมืองสุพรรณบุรี พบผู้ป่วย 5 รายซึ่งมีประวัติการเดินทางมาจากจังหวัดที่มีการระบาดของโรค รวมแล้วทั้งจังหวัดสุพรรณบุรี มีผู้ป่วยที่ยืนยันว่าเป็นโรคชิคุนกุนยา จำนวน 16 ราย ทางสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี ได้ร่วมกับสำนักงานป้องกันและควบคุมโรคที่ 5 และศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 5.1 ได้ ร่วมกันดำเนินการสอบสวนโรคช่วงวันที่ 3-7 สิงหาคม เพื่อยืนยันการวินิจฉัยและการะบาดของโรคชิคุนกุนยาในจังหวัดสุพรรณบุรี ศึกษาการเกิดและการกระจายของโรค หาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการระบาดของโรค เพื่อควบคุมและป้องกันโรคและดำเนินการค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมในชุมชนพบผู้ป่วยสงสัยว่าจะเป็นโรคไข้ปวดข้อยุงลายจำนวน 314 รายพร้อมกับเก็บตัวอย่างยุงลายในแต่ละพื้นที่ไปตรวจหาเชื้อโรคในตัวยุงเพื่อจะได้หาทางควบคุมและป้องกันการระบาดของโรค


ซึ่งโรคนี้เกิดจากยุงลายเช่นเดียวกับไข้เลือดออก ซึ่งในพื้นที่ก็ได้ดำเนินการควบคุมโรคไข้เลือดออกตามปกติอยู่แล้วแต่พอเริ่มมีผู้ป่วยชิคุนกุนยา เราก็ดำเนินการเข้มข้นมากขึ้นโดยการประสานงานกับผู้นำชุมชน โดยเฉพาะอำเภอด่านช้าง เราได้ประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือกับพี่น้องประชาชนในทุกพื้นที่แล้วในการควบคุมและป้องกันโรค โดยใช้มาตรการเดียวกับมาตรการควบคุมโรคไข้เลือดออกก็คือมาตรการ 3 เก็บ 3 โรคคือให้ดูแลบ้านเรือนให้สะอาดการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายและเรื่องการควบคุมภาชนะเก็บน้ำต่างๆไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำ และในพื้นที่ที่พบผู้ป่วยก็จะฉีดพ่นเคมีกำจัดยุงลายโดยได้รับความร่วมจากเทศบาลและ อบต.ของพื้นที่ทุกแห่งซึ่งเราได้ดำเนินการไปทุกพื้นที่แล้ว ล่า


ส่วนอาการของโรค ก็จะมีอาการไข้สูง ปวดข้อ ข้อบวมหรือข้ออักเสบ ปวดศีรษะ ปวดกระปอกตา ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ มีผื่นหรืออ่อนเพลีย จึงเรียกโรคนี้ว่าโรคไข้ปวดข้อยุงลาย สำหรับมาตรการ “3 เก็บ 3โรค”นั้น เป็นการป้องกันการแพร่กระจายของโรคที่ดีที่สุด คือ เก็บบ้าน เก็บขยะ และเก็บน้ำ เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคนี้จึงขอฝากประชาสัมพันธ์ถึงพี่น้องประชาชนให้ช่วยกันป้องกันเหมือนไข้เลือดออกสิ่งแรกก็คือช่วยกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ที่อยู่ในบ้านไม่ว่าจะเป็นภาชนะกักเก็บน้ำต่างๆอะไรที่ไม่ใช้แล้วก็ควรเก็บให้เรียบร้อย แล้วจัดบ้านเรือนให้ปลอดโปร่งให้ลมพัดสะดวก อีกส่วนคือการป้องกันตนเอง สวมใส่เสื้อผ้าให้มิดชิด หรือถ้ามีสารที่ใช้กำจัดยุงได้ก็ควรใช้ก็จะช่วยป้องกันไม่ให้ยุงกัดเราได้ที่สำคัญคือช่วยกันลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย หากพบผู้ที่มีอาการน่าสงสัยเช่นเป็นไข้ ปวดข้อ หรือมีผื่น ควรแจ้งหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่เพื่อดำเนินการสอบสวนควบคุมโรคอย่างรวดเร็วสามารถสอบถามข้อมูลได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422
ภัทรพล พรมพัก/สุพรรณบุรี