สุพรรณบุรี รมช.เกษตรและสหกรณ์ส่งเสริมเกษตรกรผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี

สุพรรณบุรี รมช.เกษตรและสหกรณ์ส่งเสริมเกษตรกรผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี
ที่ จ.สุพรรณบุรี นายประภัตร โพธสุธน รมช.เกษตรและสหกรณ์ นายภูสิต สมจิตต์ รอง ผวจ.สุพรรณบุรี นายขจร เล้าประเสริฐ รองอธิบดีกรมการข้าว นายกฤษดา ศรีเพิ่มพันธ์ ผอ.สำนักงานชลประทานที่ 12 นายไพฑูรย์ รื่นสุข เกษตร จ.สุพรรณบุรี นายสมภพ เรืองจันทร์ ผอ.ธ.ก.ส.สำนักงานสุพรรณบุรี นายอาคม แย้มนวล นายอำเภอศรีประจันต์ เจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอ เกษตรตำบล และตัวแทนกลุ่มเกษตรกร จาก อ.เดิมบางนางบวช อ.สามชุก อ.ศรีประจันต์ กว่า 100 คน เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี ปี 2563 ณ หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี ได้ประชุมชี้แจงโครงการส่งเสริมการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี ปี 2563 ณ หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี มีตัวแทนกลุ่มเกษตรกร จาก อ.เดิมบางนางบวช อ.สามชุก อ.ศรีประจันต์ กว่า 100 คน เข้าร่วม


โดยนายประภัตร โพธสุธน รวช.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมส่งเสริมการเกษตร และกรมการข้าว ชลประทาน เกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี ธ.ก.ส.สุพรรณบุรี บริษัทผลิตปุ๋ยออแกนิค และบริษัทที่จะมารับดูแลการปลูกข้าวหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี เตรียมตั้งศูนย์พันธุ์ข้าว ที่จะผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี ด้วยการนำเทคโนโลยีการผลิตสมัยใหม่และใช้โดรนบินถ่ายภาพทางอากาศผ่านดาวเทียม เพื่อนำไปตรวจวัดการเจริญเติบโตของข้าว
เนื่องจากปัจจุบันเกษตรกรมีความต้องการเมล็ดพันธ์ข้าวพันธุ์ดี ไปใช้ในการเพาะปลูกจำนวนมาก จึงได้ให้เกษตรกรหันมาผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี ออกมาจำหน่ายให้กับศูนย์ฯ โดยต้องการช่วยให้เกษตรกรลดต้นทุนการเพาะปลูก เนื่องจากที่ผ่านมาเกษตรกรมีค่าใช้จ่ายในการทำนา 5,500-6,000 บาท ต่อ 1 ไร่ ให้เหลือไม่เกินไร่ละ 4,000 บาทและต้องเพิ่มผลผลิตให้ได้ 1,200 กิโลกรัมต่อ 1 ไร่ โดยให้บริษัทที่มีความสามารถและประสบการณ์ในการทำนานำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาช่วยเกษตรกรทำนา


นอกจากนี้จะมีการแบ่งโซนในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี แต่ละอำเภอว่าจะปลูกพันธุ์ข้าวพันธุ์อะไร เพื่อความเหมาะสมกับพื้นที่ของแต่ละอำเภอ ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญมีความรู้เข้ามาช่วยดูแลในด้านการเพาะปลูกพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี ด้วยการนำเทคโนโลยีการผลิตสมัยใหม่เข้ามาใช้นำโดรนมาบินถ่ายภาพทางอากาศ เพื่อเอามาวิเคราะห์ ในการให้ปุ๋ย ยา แมลงศัตรูพืช และตรวจสอบปริมาณน้ำฝน การใช้โปรแกรม AI ที่ทันสมัยผ่านดาวเทียม มาตรวจวัดวิเคราะห์การเจริญเติบโต ตรวจจับความผิดปกติของข้าว สามารถวิเคราะห์การเจริญเติบโตของต้นข้าวได้อย่างละเอียด เพื่อนำปัญหาในการตรวจพบไปหาทางแก้ไข ใส่ปุ๋ย ใส่ยา ตามความจำเป็นแต่ละพื้นที่ จึงมั่นใจได้ว่าเกษตรกรจะได้เมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีได้มาตรฐานมาใช้และยังส่งขายได้ด้วย ขณะเดียวกันยังเป็นการลดต้นทุนในการเพาะปลูกพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี และเพิ่มผลผลิตได้อีกด้วย ถึงแม้ผลผลิตจะเสียหายไม่ว่าจะเกิดจากภัยธรรมชาติหรือภัยจากแมลงศัตรูพืช ก็จะมีการประกันราคาข้าวให้เกษตรกรในราคาตันละ 11,000 บาท


ส่วนเรื่องน้ำที่จะทำนานั้น ช่วงเดือนพฤษภาคม จะเป็นช่วงต้นฤดูฝน เกษตรกรจะเตรียมการเพาะปลูกข้าวนาปี แต่อย่างไรก็ตามทางชลประทานแจ้งว่าขณะนี้ต้นทุนน้ำ 4 เขื่อน หลักยังมีปริมาณน้อย น้ำมีเพียงพอไว้ใช้อุปโภคบริโภค เลี้ยงสัตว์เท่านั้น ขณะนี้ปริมาณน้ำในเขื่อนยังไม่เพียงพอกับการเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตรขอให้พี่น้องเกษตรกรรอฟังประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาว่าในปีนี้จะมีฝนตกลงมากน้อยเพียงใด เกษตรกรจะสามารถเริ่มทำนาได้ประมาณวันที่เท่าไร ซึ่งในปีที่ผ่านมาเกษตรกรเริ่มลงมือทำนาปี ราววันที่ 20 พฤษภาคม ช่วงนี้ขอให้พี่น้องเกษตรกรรอฝนตกลงมาก่อน คาดว่าเกษตรกรจะสามารถเริ่มทำนาได้ประมาณ วันที่ 25 พฤษภาคม 2563 จากนั้นก็ให้ทางชลประทานประกาศให้เริ่มทำนาได้ หากปริมาณน้ำฝนไม่เพียงพอในการการทำนาปี ทางชลประชนจะปล่อยน้ำเข้ามาช่วยเสริม เพื่อให้พี่น้องเกษตรกรได้เก็บเกี่ยวผลผลิตต่อไป ส่วนเงินทุนในโครงการส่งเสริมการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี ปี 2563 ซึ่งการเพาะปลูกข้าวนาปี ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ประสานกับทาง ธ.ก.ส.ขอให้เกษตรกรที่จะเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีปี 2563 ไปรวมกลุ่มกันขึ้นทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชนแล้วก็ยื่นขอกู้เงินทุนกับทาง ธ.ก.ส.ได้โดยทาง ธ.ก.ส.จะคิดดอกเบี้ยเพียงล้านละร้อยต่อปี

ภัทรพล พรมพัก/ สุพรรณบุรี