อุบลราชธานี คณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา ลงพื้นที่ศึกษาศูนย์จัดการกองทุนหมู่บ้านยางกระเดา

อุบลฯ คณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา ลงพื้นที่ศึกษาศูนย์จัดการกองทุนหมู่บ้านยางกระเดา จังหวัดอุบลราชธานี และแก้ปัญหาภัยแล้ง
20 ก.พ.63​ นายสังสิต พิริยะรังสรรค์ ประธานคณะกรรมาธิการ แก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา และคณะ ศึกษาดูงาน ณ ศูนย์จัดการกองทุนหมู่บ้านยางกระเดา หมู่ที่ 10 ตำบลท่าเมือง อำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชานี ทั้งนี้เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น มีอาชีพ มีรายได้ มุ่งสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน
โดยมีนายสฤษดิ์ วิฑูรย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ได้นำนโยบายของรัฐบาลสู่การปฏิบัติ ผ่านกิจกรรมโครงการต่าง ๆ โดยการบูรณาการกับทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนงาน ได้แก่โครงการ “ครัวเรือนพ้นจน คนอุบลไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” และคณะกรรมการศูนย์จัดการกองทุนชุมชนบ้านนยางกระเดา นำเสนอการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ สามารถบริหารจัดการกองทุน ได้แก่ กองโรงน้ำทุนน้ำดื่ม กองทุน ปั๊มน้ำมัน กองทุนโรงสีข้าวชุมชน สามารลดหนี้ในครัวเรือนได้ เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน

ด้าน ประธานคณะกรรมาธิการ แก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา กล่าวว่า การจัดการบริหารกองทุนต่าง ๆ ของคณะการศูนย์จัดการกองทุนชุมชนบ้านนยางกระเดา สามารถลดหนี้ของสมาชิกเกษตรกรได้จริง และที่สำคัญหนี้นอกระบบกองทุนแห่งนี้สามารถบิหารจัดการได้ ซึ่งเป็นนวัตกรรมทางด้านเศรษฐกิจและมีคุณค่า และนำไปขยายผลต่อ ให้กับประชาชน หมู่บ้าน ต่าง ๆ ทั้งประเทศ
ซึ่งการบริหารจัดการกองทุนของคณะกรรมการแห่งนี้มีแนวการการคิดนอกระบบ น่าสนใจและจะได้เสนอให้รัฐบาล มีการบริหารจัดการของกองทุนหมู่บ้านแห่งนี้ ไปสู่ทุกกองทุน ทุกหมู่บ้าน ตำบล 7 หมื่นกว่า หมู่บ้านทั่วประเทศ นอกจากนีผู้นำหมู่บ้าน คณะกรรมการ ยังมีจิตอาสา เสียสละ ทำงานด้วยความโปร่งใส และยังมีหน่วยงานภาครัฐ ให้การสนับสนุน จึงเป็นการขับเคลื่อนกองทุนหมู่บ้านแห่งนี้ ประสบผลสำเร็จได้ การบริหารกองทุนแห่งนี้ จึงเป็นการบริหารต้นแบบที่เป็นประโยชน์กับประเทศไทย.


สำหรับการแก้ปัญหาภัยแล้งของจังหวัดอุบลราชธานี ประธานคณะกรรมาธิการ แก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา กล่าวเพิ่มเติมว่า ควรทำเป็นแก้มลิง บริเวณหน้าเขื่อนปากมูล และเขื่อนสิรินธร ซึ่งมีค่าใช้จ่ายเพียงเล็กน้อย ก็จะเป็นแหล่งเก็บน้ำจำนวนมากให้กับประชาชน จังหวัดอุบลราชธานี และหากคิดแบบเดิม ก็จะแก้ปัญหาไม่ได้เรื่องน้ำไม่สำเร็จ แต่หากคิดแบใหม่ด้วยการใช้ทฤษฎีใหม่ การบริหารจัดการเรื่องน้ำ แหล่งน้ำเล็ก ๆ ในการจัดการเรื่องน้ำขนาดเล็ก นอกจากราคาจะถูก ค่าใช้จ่ายน้อย ประชาชนยังจะได้ประโยชน์จาการจัดการน้ำ มีน้ำอุปโภค บริโภค และการเกษตร ได้ใช้ตลอดทั้งปี
สำหรับการบริหารจัดการเรื่องน้ำ ไม่เฉพาะที่จังหวัดอุบลราชธานี แต่ต้องนำมาเรื่องบริหารจัดการน้ำนำมาใช้ทั่วทั้งประเทศ ทั้งนี้คณะคณกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา จะได้ผลักดัน แผนปฏิบัติการบริหารจัดการเรื่องน้ำใหม่ เข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร ประมาณปลายเดือนพฤษภาคม 2563 ทั้งนี้เพื่อให้ข้อเสนอแนะรัฐบาล ในการบริหารจัดการน้ำแบบใหม่ ที่เป็นประโยชน์กับประชาชนมากที่สุด

เอกชัย​โป​ธา​ ข่าว​ภูธร​ รายงาน​