ปทุมธานี. เปิดศาลาเจ้าพระยาปทุมธานี วัดโบสถ์ แลนด์มาร์คริมน้ำแห่งใหม่

เปิดศาลาเจ้าพระยาปทุมธานี วัดโบสถ์ แลนด์มาร์คริมน้ำแห่งใหม่ของปทุมธานี

เมื่อเวลา 18.00 น.วันที่ 27ธ.ค 2562 ที่วัดโบสถ์ ตำบลบางกระบือ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี เจ้าประคุณสมเด็จพระธีรญาณมุนี กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะภาค 1-2-3 และ 12-13 (ธรรมยุต) เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส ประธานฝ่ายสงฆ์ พร้อมด้วยพระราชวรเมธาจารย์ เจ้าอาวาสวัดโบสถ์ เจ้าคณะจังหวังหวัดปทุมธานี ( ธรรมยุต ) และคณะสงฆ์ ดร.พินิจ บุญเลิศ ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี เป็นประธานฝ่ายฆราวาส ทำพิธีเปิด “ศาลาเจ้าพระยาปทุมธานี” บริเวณริมน้ำเจ้าพระยาท่าน้ำวัดโบสถ์ โดยมี พล.ต.ต.ชยุต มารยาทตร์ ผบก.ภ.จว.ปทุมธานี


นายชาธิป รุจนเสรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี นายจรูญศักดิ์ สิงหเดช รองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี นางดลวสา บุญเลิศ ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดปทุมธานี นางกาญจนี รุจนเสรี รองประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดปทุมธานี นางบุษกร สวัสดิ์แสน รองประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดปทุมธานี หัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ พี่น้องประชาชนชาวจังหวัดปทุมธานี เข้าร่วมพิธี

 

ที่แห่งนี้ เดิมชื่อ “วัดสร้อยนางหงส์” ตั้งอยู่บริเวณ คุ้งน้ำท้องมังกรของแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นวัดเก่าแก่สมัยกรุงศรีอยุธยา มีอายุเกือบ ๔๐๐ ปี สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๑๖๔ โดยชาวมอญที่อพยพมาจากเมืองหงสาวดี ปัจจุบันมีพื้นที่ ๓๐ ไร่เศษวัดโบสถ์ เป็นวัดที่สำคัญของจังหวัดปทุมธานี เป็นที่ประดิษฐาน”หลวงพ่อเหลือ” พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ และเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของปทุมธานี เป็นพระพุทธรูปองค์เดียวที่เหลือในโบสถ์ที่ไม่ถูกตัดเศียรไปขาย ชาวบ้านจึงเรียกชื่อว่า”หลวงพ่อเหลือ” คนนิยมมากราบไหว้ ขอพรให้คลาดแคล้วจากอุบัติเหตุ มีเงินทองเหลือใช้เหลือเก็บนอกจากนั้นยังมีหลวงพ่อโสธรและหลวงพ่อโตองค์ใหญ่และพระปทุมธรรมราชองค์จำลองที่ประดิษฐ์อยู่ที่วัดอีกด้วย

เมื่อประมาณ ๑๐ ปีที่ผ่านมา วัดโบสถ์แห่งนี้เกือบเป็นวัดร้าง แต่ด้วยความสามารถและความศรัทธาที่ชาวบ้านมีต่อพระอุดมสารโสภณ (วิชาญ ถิรสีโล) ท่านเจ้าอาวาสในขณะนั้น ปัจจุบันดำรงตำแหน่งพระราชวรเมธาจารย์ เจ้าคณะจังหวังหวัดปทุมธานี ( ธรรมยุต ) ทำให้วัดโบสถ์ได้รับการฟื้นฟูและพัฒนาให้เป็นวัดที่ผู้คนเข้ามาสั่งสมบุญตลอดเวลา ปัจจุบันมีผู้คนเข้ามากราบไหว้ขอพร เฉลี่ยมากกว่าวันละ 3,000 คน นอกจากนี้ ภายในวัดยังจัดสถานที่สำหรับชาวบ้านท้องถิ่นนำสินค้ามาขายและอาหารคาว หวาน มาจำหน่าย อาหารที่ขึ้นชื่อ เช่น โอเลี้ยง ก๋วยจั๊บน้ำข้นก๋วยเดี๋ยวหมูน้ำขัน

ทั้งนี้ จังหวัดปทุมธานี ได้เห็นถึงศักยภาพและอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของวัดโบสถ์แห่งนี้ ทั้งทำเลที่ตั้ง ที่อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา มีทิวทัศน์ที่สวยงาม และมีโบสถ์วิหาร ซึ่งเป็นควรค่าแก่การเก็บรักษาไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้ ซึ่งทางวัดได้สร้างพิภิธภัณฑ์เก็บรักษาไว้ และพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดปทุมธานี จึงได้เสนอโครงการพัฒนาวัดโบสถ์ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยววิถีชีวิตริมแม่น้ำเจ้าพระยา ของบประมาณจากกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน ๑ (พระนครศรีอยุธยา สระบุรี ปทุมธานี นนทบุรี) จำนวน ๕๐ล้านบาท เพื่อพัฒนาวัดโบสถ์ ภายใต้โครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยววิถีชีวิตชุมชนริมแม่น้ำเจ้าพระยา และได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ เมื่อวันที่ ๑ ดุลาคม ๒๕๖๒ ประกอบด้วย
๑. ศาลาอเนกประสงค์ ๒ ชั้น สำหรับเป็นพื้นที่จำหน่ายสินค้าชุมชนและอาหารสำหรับรองรับนักท่องเที่ยวและผู้คนที่มีจิตศรัทธาเดินทางมาทำบุญที่วัด ๒. ลานจอดรถยนต์ และ ๓. ศาลาริมน้ำแห่งนี้ ซึ่งได้ตั้งชื่อว่า “ศาลาเจ้าพระยาปทุมธานี”
จังหวัดปทุมธานี คาดหวังว่า วัดโบสถ์แห่งนี้ซึ่งเป็นสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดปทุมธานี ใช้ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่งของปทุมธานี ที่มีความสวยงาม และมากล้นด้วย
ความศรัทธาของผู้คน ที่เดินทางมาสั่งสมบุญ อันจะช่วยหล่ อหลอมคุณความดีและท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ซึ่งจะสร้างรายได้ให้กับคนในปทุมธานีเพิ่มมากขึ้น