สุพรรณบุรี รมช.ประภัตร ลงพื้นที่แก้ปัญหาภัยแล้ง

สุพรรณบุรี รมช.ประภัตร ลงพื้นที่แก้ปัญหาภัยแล้ง
ที่สำนักงานโครงการส่งน้ำ และบำรุงรักษาสามชุก อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการเกษตรและสหกรณ์ ได้นำคณะประกอบด้วยนายสรชัด สุจิตต์ ส.ส.สุพรรณบุรี นายยศดนัย น้อยแก้ว ผู้อำนวยการโครงการชลประทานจังหวัดสุพรรณบุรี นายบุญฤทธิ์ จำปาเงิน ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำ และบำรุงรักษาสามชุก นายพงษ์ศักดิ์ อัครมณี ผู้อำนวยการส่วนบริหารจัดการน้ำและบำรุงรักษา สำนักชลประทานที่ 12 นายสิทธิ กิจวรวุฒิ หัวหน้าฝ่ายจัดสรรโครงการส่งน้ำ และบำรุงรักษาสามชุก นายธัญนนท์ ทองคำ หัวหน้าฝ่ายวิศวกรรมโครงการส่งน้ำ และบำรุงรักษาสามชุก นายวิทยา มีนิสัย ผู้อำนวยการสำนักทรัพยากรน้ำบาดาลเขต 2 สุพรรณบุรี และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องร่วมประชุมหาแนวทางช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาภัยแล้งที่กำลังเกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี
นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการเกษตรและสหกรณ์ ได้ชี้แจงให้กับ เกษตรกรและชาวบ้านกว่า 200 คนจาก 3 อำเภอ ประกอบไปด้วย อ.ศรีประจันต์ อ.สามชุก และ อ.ดอนเจดีย์ มาทำความตกลงกับชลประทาน โครงการส่งน้ำ และบำรุงรักษาสามชุก ว่าขอให้ปล่อยน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค และให้ทางการประปานำน้ำไปใช้ผลิตน้ำประชาให้พี่น้องประชาชนมีน้ำใช้กัน วันนี้ก็สามารถตกลงกันได้ ให้สลับเวรกัน โดยคลอง 1 กับคลอง 2 คลอง 3 สลับกันคนล่ะ 1 อาทิตย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คลอง 1 เขาขยายเวลาออกไป ทำให้คลอง 2 มีเวลาเพิ่มขึ้นมาอีก 7 วัน จึงสามารถระบายน้ำไปช่วยประปาที่ท่าเสด็จได้ เนื่องจากคลองเส้นนี้ยาวประมาณ 50 กิโลเมตร

 


นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการเกษตรและสหกรณ์ กล่าวอีกว่าตอนนี้ได้ขอร้องกับชลประทานว่าอย่าเพิ่งลดการส่งน้ำ เนื่องจากว่าทางกรมชลได้มีคำสั่งให้ทางชลประทานสามชุกให้ลดการส่งน้ำจาก 20 คิว ให้เหลือเพียง 15 คิว ถ้าเป็นอย่างนี้แล้วไม่พออุปโภค บริโภค จึงขอให้ยืนอยู่ที่ 20คิวจนกว่าจะถึงสิ้นเดือน จริงๆแล้ววันนี้เขาจะสั่งให้ลดน้ำเลย เราจึงได้บอกกับทางชลประทานว่าไม่ได้ ไม่เช่นนั้นชาวบ้านเดือดร้อนแน่ จึงได้ขยายเวลาไปจนถึงสิ้นเดือนในอัตรา 20 คิว ต่อวินาทีเพื่อส่งให้แม่น้ำท่าจีน ดังนั้นก็สามารถแก้ปัญหาไปได้ระยะหนึ่ง ต่อจากนี้ก็จะเรียกผู้เกี่ยวข้องมาประชุมร่วมกันอีกครั้ง หลังจากน้ำมาน้อยแล้วก็จะมีการส่งเสริมอาชีพใหม่ โดยเอาปศุสัตว์เข้ามาช่วย เพราะเราทราบกันดีอยู่แล้วว่าปีนี้ฝนแล้ง แล้วฝนก็จะทิ้งระยะไปอีก 3-4 เดือน รวมแล้วกว่า 10 เดือนกว่าที่พี่น้องชานาจะมีรายได้ ก็จะเอาปศุสัตว์เข้ามาแทนที่ 120 วัน เกษตรกรพี่น้องชาวนาจะต้องมีรายได้ เช่นเลี้ยงวัวขุน หมู เป็ด ไก่ โดยเราจะมีการประกันราคา มีตลาดพร้อมอยู่แล้ว และเราก็มีเงินในอัตรา 1 ล้าน 1 ร้อยบาทต่อปี ดังนั้นจึงคิดว่าพี่น้องประชาชนคงได้ทำอาชีพนี้แน่นอน และทางสำนักงานชลประทานที่ 12 ทำป้ายประชาสัมพันธ์ติดรถยนต์ ออกประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือพี่น้องเกษตรกรไม่ให้ทำนาปรังในช่วงฤดูแล้งปี 2562-2563 เนื่องจากสภาพน้ำต้นทุนมีจำกัดเพียงพอสำหรับอุปโภคบริโภคและรักษาระบบนิเวศขอประชาชนช่วยกันใช้น้ำอย่างประหยัด

ภัทรพล พรมพัก/สุพรรณบุรี