ตรัง. ดำเนินงานโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันในโรงเรียนตามแนวพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า

การดำเนินงานโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันในโรงเรียนตามแนวพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาการดำเนินโครงการประสบผลสำเร็จอย่างมาก โรงเรียนและนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการสามารถนำผลผลิตที่ได้อาหารและต่อยอดไปสู่ครอบครัวของนักเรียน ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้


ที่ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านหนำควาย หมู่ที่ 12 ตำบลนาท่ามเหนือ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง นายบุญเจือ สมทิพย์ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดตรัง เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมโครงการการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันในโรงเรียนตามแนวพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อให้นักเรียนและครู ของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯได้ศึกษาเรียนรู้และนำไปปฏิบัติให้เกิดเป็นรูปธรรม โดยมีอาจารย์วิรัตน์ กาญจนพรหม ปราชญ์ชาวบ้าน เป็นวิทยากรให้ความรู้กับครูและนักเรียน ทั้งนี้ได้มีการปรับพื้นการเรียนรู้ใหม่ใช้พื้นที่น้อยลงแต่ได้รับประโยชน์มาขึ้น ซึ่งได้สร้างความสนใจให้กับครูและนักเรียนเป็นอย่างมาก


นายบุญเจือ สมทิพย์ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดตรัง โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันในโรงเรียนตามแนวพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทั้งนี้ได้มีการฝึกอบรมนักเรียนและสนับสนุนปัจจัยการผลิตภาคการเกษตรให้กับโรงเรียน ซึ่งได้ดำเนินการฝึกอบรมตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2562 ขณะนี้มีการฝึกอบรมแล้ว 144 โรงเรียน โดยมีเป้าหมายจำนวน 155 โรงเรียน การฝึกอบรมนั้นจำนำนักเรียนแกนนำจำนวน 7คน และครูพี่เลี้ยง 1 คน โรงเรียนละ 8 คน การฝึกอบรมเป็นหลักสูตรพื้นฐานในการน้อมนำศาสตร์พระราชามาใช้ในเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน และศึกษากิจกรรมต่างๆเพื่อนำไปปรับใช้ในการทำกิจกรรมการเกษตรภายในโรงเรียน โดยการปฏิบัติจริงเพื่อให้ได้ผลผลิตมาทำอาหารกลางวันให้กับนักเรียน ในการปฏิบัติที่จะเข้าร่วมโครงการฯนั้นจะมี 4-5 ขั้นตอน คือ โรงเรียนต้องเขียนใบสมัครเข้าร่วมโครงการฯและมีการประชุมผู้บริหารโรงเรียนได้เข้าใจวิธีการและขั้นตอนปฏิบัติ จากนั้นจึงได้มีการกำหนดแผนการอบรมนักเรียนและครูพี่เลี้ยงของแต่ละโรงเรียนในขณะนี้การฝึกอบรมนั้นใกล้ครบตามที่กำหนดแล้ว และในขั้นตอนต่อไปนั้นทางโรงเรียนจะต้องเสนอความต้องการปัจจัยในการผลิตหรือการปรับปรุงแปลงในโรงเรียนส่งมายังจังหวัดเพื่อการพิจารณาในการดำเนินการจัดซื้อปัจจัยการผลิตที่จะสนับสนุนให้เด็กนักเรียนนำไปฝึกปฏิบัติจริงในระดับโรงเรียน และจะมีการติดตามผลการดำเนินงานจากคณะกรรมการซึ่งโครงการฯได้ดำเนินการติดต่อกันมาตั้งแต่ปี 2559 มาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ซึ่งภาพรวมโดยหลักแล้วจะมีโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเป็นต้นแบบหลักจำนวน 2 โรงเรียน คือ โรงเรียนตระเวนชายแดนบ้านสันติราษฏร์บำรุงและโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหินจอก เป็นแม่แบบหลักที่นำนักเรียนไปเก็บเกี่ยวเอาองค์ความรู้ของแต่ละโรงเรียนมาปรับใช้ในแต่ละโรงเรียนของตนเองที่เรียนอยู่ในปัจจุบันและเป็นที่น่ายินดีเมื่อนักเรียนไปศึกษาเรียนรู้แล้วสามารถนำกลับมาดำเนินกิจกรรมในโรงเรียนของตนเองได้ จากกประเมินผลสามารถอยู่ในระดับดีเยี่ยมในหลายโรงเรียนของจังหวัดตรัง ที่ได้น้อมนำเอาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาดำเนินรอยตาม ซึ่งได้สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับเด็กนักเรียนและกระจายไปสู่ครัวเรือนของนักเรียน ทั้งนี้โครงการฯดังกล่าวถือว่าประสบความสำเร็จ โดยวัดจากตัวชี้วัดความพึงพอใจของครูในโรงเรียนต่างๆ และจากคณะกรรมการติดตาม นอกจากนี้เมื่อเสร็จสิ้นโครงการจะมีการมอบรางวัลให้กับโรงเรียนที่มีผลงานในแต่ละระดับ จากผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง อีกด้วยเพื่อสร้างขวัญและกำลังให้กับนักเรียนและโรงเรียนในการดำเนินโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันในโรงเรียนตามแนวพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อีกด้วย
มนต์เจริญ ศรีมงคล จ.ตรัง