อ่างทอง คณะนักศึกษา ลงพื้นที่พัฒนาจัดทำนิทรรศการพิพิธภัณฑ์ให้ชุมชน

ผอ.พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ นำคณะและนักศึกษา ลงพื้นที่พัฒนาจัดทำนิทรรศการพิพิธภัณฑ์ให้ชุมชน ที่วัดแก้วกระจ่าง ตำบลสีบัวทอง อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง
หลังจากเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2565 พระครูวิบูลย์วัตร เจ้าอาวาสวัดแก้วกระจ่าง ต.สีบัวทอง อ.แสวงหา จ.อ่างทอง และนายสมเกียรติ บริบูรณ์ (ลุงแจ้ง) พร้อมด้วยพระสงฆ์ได้ทำพิธีกรรม และได้ขนย้ายวัตถุโบราณถ้วยโถ ชามกระเบื้องดินเผาที่นายสมเกียรติ (นายแจ้ง) เจ้าของพื้นที่นาที่ได้ขุดพบเมื่อปี พ.ศ. 2563 ซึ่งตนได้นำมาเก็บรักษาไว้ที่บ้านเลขที่ 2 หมู่ที่ 5 ต.สีบัวทอง อ.แสวงหา จ.อ่างทอง นานนับปี การย้ายในครั้งนี้มีโครงกระดูกที่มีอายุหลายพันปีจำนวน 9 โครงพร้อมทั้งถ้วย ชามกระเบื้องดินเผา เครื่องมือใช้สอยของคนในยุคหินเก่า โดยเคลื่อนย้ายไปเพื่อเก็บยังพิพิธภัณฑ์ของวัดแก้วกระจ่าง หลังจากนางสาวเอกลักษณ์ นาคาคง รองผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง ได้ลงไปตรวจเยี่ยมที่บ้านของนายสมเกียรติ (ลุงแจ้ง ) ครั้งล่าสุด พร้อมกับเจ้าหน้าที่ของพิพิธภัณฑ์ ฯ เพื่อคัดแยกชิ้นส่วนของโบราณอาทิ ถ้วย ชามที่มีสภาพเกือบสมบูรณ์ใสภาชนะแยกไว้เพื่อเตรียมการขนย้ายไปเก็บยังพิพิธภัณฑ์ของจังหวัดส่วนหนึ่ง


ต่อมาวันที่ 26 กันยายน 2566 อ.ดร.อุดมลักษณ์ ฮุ่นตระกูล ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ฯ ได้ลงพื้นที่สำรวจสถานที่และความพร้อมในการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการและจัดทำนิทรรศการพิพิธภัณฑ์ของวัดแก้วกระจ่าง โดยเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2566 เป็นต้นมาโดยในครั้งนั้นได้มีการพบปะพูดคุยประเด็นการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติและการพัฒนาพิพิธภัณฑ์วัดแก้วกระจ่าง ร่วมกับพระครูวิบูลย์ เจ้าอาวาสวัดแก้วกระจ่าง และครูวัฒนา เชื้อสุวรรณ์ ตัวแทนครูโรงเรียนวัดแก้ว วันเสาร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2566 พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ นำโดย อ.ดร.อุดมลักษณ์ ฮุ่นตระกูล ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ฯ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ฯ และนักศึกษาผู้สนใจ เข้าร่วมโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาพิพิธภัณฑ์วัดแก้วกระจ่าง แห่งนี้ โดยมี ผศ.ดร.พิพัฒน์ กระแจะจันทร์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มธ. และ ดร.อธิวัฒน์ วัฒนะพิทักษ์สกุล ผู้เชี่ยวชาญกระดูกสัตว์ ร่วมเป็นวิทยากรให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับวัตถุประเภทเครื่องปั้นดินเผาและกระดูกสัตว์ด้วย คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มธ.เข้าร่วมด้วย
วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567 ทางทีมพิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ได้เข้ามาดำเนินการติดตั้งนิทรรศการและจัดวางวัตถุให้กับพิพิธภัณฑ์วัดแก้วกระจ่าง พร้อมทั้งได้นำบัตรทะเบียนวัตถุที่ขุดพบจากแหล่งโบราณคดีสีบัวทอง จำนวน 62 รายการ มอบให้กับทางพิพิธภัณฑ์วัดแก้วกระจ่าง โดยมีพระครูวิบูลย์วัตรเจ้าอาวาสวัดแก้วกระจ่าง เป็นผู้รับมอบ
ซึ่งพิพิธภัณฑ์วัดแก้วกระจ่าง แห่งนี้เป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดตั้งโดยวัดและชุมชน เพื่อต้องการเผยแพร่ข้อมูลความรู้ของแหล่งโบราณคดีสีบัวทองให้กับคนในพื้นที่และประชาชนทั่วไปได้ศึกษาค้นคว้าและเรียนรู้ร่วมกันในอนาคต อีกทั้งยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงโบราณคดีในประวัติศาสตร์อีกด้วย


เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2567 พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ นำโดย อ.ดร.อุดมลักษณ์ ฮุ่นตระกูล ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ฯ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ฯ และนักศึกษาผู้สนใจ 40 กว่าคนที่เข้าร่วมโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาพิพิธภัณฑ์ของวัดแก้วกระจ่างแห่งนี้โดยใช้งบประมาณที่มีเพียงจำกัด
อ.ดร.อุดมลักษณ์ ฮุ่นตระกูล ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ กล่าวว่า จากการที่คณะทำงานรวมถึงนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้ให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่งในแต่ละครั้งที่พานักศึกษาเข้าร่วมโครงการฯ เชิงปฏิบัติเพื่อการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ของวัดแก้วกระจ่างแห่งนี้ ต้องใช้เวลาในการปฏิบัติงานเนื่องจากซากวัตถุหรือสิ่งของโบราณเหล่านี้กระจัดกระจายไปคนละทิศคนละทาง ต้องใช้ความพยายามในการค้นคว้าหา ชิ้นส่วนมาประกอบ และข้อมูลต่างๆเท่าที่มีอยู่ ส่วนเรื่องที่ทีมงานหรือคณะของนักศึกษาที่ร่วมมาปฏิบัติการไม่สามารถอยู่ประจำที่วัดแก้วกระจ่างแห่งนี้ได้ โดยกำหนดลงพื้นที่เป็นคราวๆ สืบเนื่องด้วยโครงการดังกล่าวยังไม่มีงบประมาณจากหน่วยงานใด ของจังหวัดอ่างทองลงมาร่วมสนับสนุน
สาทร คชวงษ์ / รายงาน