สุพรรณบุรี   นักศึกษา ปปร. 27 สถาบันพระปกเกล้าลงพื้นที่เก็บข้อมูลช่วยชุมชน

สุพรรณบุรี   นักศึกษา ปปร. 27 สถาบันพระปกเกล้าลงพื้นที่เก็บข้อมูลช่วยชุมชนรักษาทรัพยากรธรรมชาติแบบยั่งยืน
ที่จังหวัดสุพรรณบุรี ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) นายวีระกิตติ์ รันทกิจธนวิชญ์; ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายจุมพล นิติธรางกูร ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและพัฒนากฎกมาย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา นางพชรพรรณ มาตรศรี ผู้อำนวยการฝ่ายขาย นายอภิชัย นิมจิรวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานการตลาดและการขายบริษัทแอ็ดวานซ์อินฟอร์เมชั่นเทคโนโลยี จำกัดมหาชน นายรัชพล ชลวัฒนสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท เฮลท์ลีด จำกัด ได้นำกลุ่มนักศึกษา ปปร.รุ่นที่ 27 กลุ่มบ้านบำรุงเมือง ลงพื้นที่วัดเขาถ้ำเสือ ตำบลจระเข้สามพัน อำเภออู่ทอง พบปะตัวแทนผู้นำชุมชนเพื่อเก็บข้อมูลหาแนวทางช่วยเหลือการพัฒนาชุมชน


ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) กล่าวว่าวันนี้กลุ่มนักศึกษา หลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ 27 (ปปร.27) กลุ่มบ้านบำรุงเมืองได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพื่อจะไปทำโครงงานในหลักสูตร การพัฒนาชุมชนป่าพุม่วง ในหัวข้อ จากภูผาสู่ความผาสุกที่ยั่งยืน
วัตถุประสงค์หลักของโครงนี้เป็นการส่งเสริมประชาธิปไตยภาคพลเมือง เพื่อให้พี่น้องประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาตนเอง โดยทางหลักสูตร ปปร.จะมาช่วยในการจัดกระบวนการ ให้เกิดการคิดถึงการพัฒนาในอนาคตของชุมชน มี 3อย่างที่เราจะสนับสนุนทางชุมชน คือทำ Foresight (ฟอร์ไซท์) คือคาดการณ์อนาคตให้พี่น้องในชุมชนพุม่วง ได้วาดภาพอนาคตที่ ชาวพุม่วง ชาวจระเข้สามพัน ต้องการอยากเห็นในอนาคต อันที่ 2 ถ้าเราเห็นภาพแล้วการที่จะไปถึงภาพนั้นจะมีการร่วมมือกันในหมู่บ้านต่างๆ กับหน่วยงานราชการ องงค์กรปกครองท้องถิ่น เพื่อที่จะขับเคลื่อนให้เกิดโดยเฉพาะการท่องเที่ยวในชุมชน ที่ทุกคนมีส่วนร่วมและทุกคนได้รับประโยชน์ พร้อมเพรียงกัน โดยหลักแล้วอยากเห็นการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ เชิงวัฒนธรรม แม้กระทั่งการท่องเที่ยวกรีนทัวริสซึ่ม การท่องเที่ยวสีเขียว ที่มีการรักษาทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ให้เกิดความยั่งยืน


ในเบื้องต้นที่นักศึกษา ปปร.เข้ามาทำจะทำ 3 อย่าง คือทำภาพอนาคต ทำกฎบัติ ออกแบบภูมิสถาปัตย์ ให้เห็นว่าถ้าจะพัฒนาพื้นที่ รูปแบบจะเป็นอย่างไร ซึ่งจะต้องออกแบบโดยชาวบ้านแล้วเรามาจัดกระบวนการให้ และทำแผนที่นำทางการพัฒนา ที่ทางชุมชนสามารถเอาไปใช้ ในการทำแผนของจังหวัด ของอำเภอ ทำแผนของ อบต.ใช้ในการของบประมาณ จากแหล่งงบประมาณต่างๆ ทั้งงบแผ่นดินและงบท้องถิ่น ต่อไป
ภัทรพล พรมพัก สุพรรณบุรี