สุพรรณบุรี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีต้อนรับคณะศึกษาดูงานจาก University of East Anglia, United Kingdom

สุพรรณบุรี  วพบ.ร่วมมือระหว่างประเทศ ในการพัฒนาศักยภาพอาจารย์และนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์

วพบ.สุพรรณบุรีร่วมมือระหว่างประเทศ ในการพัฒนาศักยภาพอาจารย์และนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
ที่จังหวัดสุพรรณบุรี วันที่ 7 ตุลาคม 2565 ดร.พิศิษฐ์ พลธนะ รักษาราชการแทนผู้ช่วยอธิการบดีสถาบันพระบรมราชชนก และผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี พร้อมด้วย คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และ นักศึกษา ร่วมต้อนรับคณะศึกษาดูงานจาก University of East Anglia, United Kingdom โดยการนำของ Professor Dr. Kenda Crozier นำคณะเข้าศึกษาดูงาน เพื่อเป็นการสร้างความร่วมมือเครือข่ายด้าน การศึกษา และการวิจัย โดยเป็นกิจกรรมหนึ่ง ที่อยู่ภายใต้โครงการสัมมนาแลกเปลี่ยนความร่วมมือระหว่างประเทศ ในการพัฒนาศักยภาพอาจารย์และนักศึกษา : คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก ร่วมกับ University of East Anglia, United Kingdom โดยคณะศึกษาดูงานได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้านการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง (Simulation Based Learning) และ หารือประเด็นด้านการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน เพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษาพยาบาล ที่มุ่งเน้น การดูแลสุขภาวะของประชาชน ณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี


ดร.พิศิษฐ์ พลธนะ รักษาราชการแทนผู้ช่วยอธิการบดีสถาบันพระบรมราชชนก กล่าวว่า วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี เป็นวิทยาลัยในสังกัดคณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข มีภารกิจหลักในการผลิตและพัฒนาบุคลากรทางด้านสุขภาพ การจัดการศึกษาเป็นกระบวนการสำคัญที่จะเตรียมผู้เรียนให้มีทักษะตามความต้องการของระบบสุขภาพ ซึ่ง สถาบันพระบรมราชชนก ได้ดำเนินการทำข้อตกลงในด้านต่าง ๆ ภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยอีสต์ แองเกลีย สหราชอาณาจักร (University of East Anglia, United Kingdom) ซึ่งมหาวิทยาลัยอีสต์ แองเกลีย ได้เดินทางมาศึกษาดูงานที่วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี ในฐานะตัวแทนคณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก เพื่อการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านวิชาการ วิจัยและแนวทางการพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านวิชาการต่าง ๆ เช่น การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Simulation-Based Learning (SBL) เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายความร่วมมือด้านการผลิตและพัฒนาด้านสุขภาพ รวมทั้งสนับสนุนความก้าวหน้าของระบบการจัดการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการ ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการสร้างความร่วมมือครั้งนี้ 1. นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้ความรู้และประสบการณ์ในการปฏิบัติทางคลินิกและชุมชน 2. อาจารย์สามารถประยุกต์ใช้ความรู้และประสบการณ์ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน การวิจัยและการบริการวิชาการ 3. เกิดเครือข่ายความร่วมมือด้านการจัดการศึกษาระหว่างประเทศ
ภัทรพล พรมพัก /สุพรรณบุรี