กาญจนบุรี เจ้าอาวาสวัดส้มใหญ่ไอเดียเก๋นำโอ่งที่ชำรุดแตกหักที่ไร้ค้ามาทำประติมากรรม

กาญจนบุรี เจ้าอาวาสวัดส้มใหญ่ไอเดียเก๋นำโอ่งที่ชำรุดแตกหักที่ไร้ค้ามาทำประติมากรรมสร้างคุณค่าความสวยงามพร้อมเปิดเป็นจุดท่องเที่ยวจุดเช็คอินทร์แห่งใหม่ของบ้านหนองขาว
ผู้สื่อข่าวได้เดินทางเข้าพบ นายอุดร เพ็งอร่าม นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลหนองหญ้าดอกขาว ตำบลหนองขาว อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อสอบถามเรื่องราวเกี่ยวกับโอ่งที่ทางเจ้าอาวาสวัดส้มใหญ่ได้นำโอ่งดังกล่าวที่ชำรุดและแตกหักมาประติมากรรมตกแต่งสร้างความสวยงามทำเป็นรั้วกำแพงโบสถ์และเป็นคันป้องกันดินถล่มรวมไปถึงอาสนะพระเพื่อไว้ให้พระสงค์นั่งประกอบพิธีของทางศาสนา พร้อมกับสร้างลวดลายสีสันสวยงามในรูปแบบที่แตกต่างกันไปมีทั่งรูปแบบตัวอักษรพยัชนะไทย ดอกบัว ป้ายและโลโก้ห้างร้านต่างๆที่มีผู้ใช่เฟสบุ๊คท่านหนึ่งได้นำมาลง นายอุดร เพ็งอร่าม นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลหนองหญ้าดอกขาวกล่าวว่า เรื่องราวดังกล่าวที่ผู้สื่อข่าวได้สอบถามตนมานั้นเป็นประติมากรรมที่แปลกใหม่ของชาวหนองขาวที่ทางพระครูวิสิฐกาญจนกิจ(หลวงพ่อเอี่ยม) เจ้าอาวาสวัดใหญ่ดงรัง(วัดส้มใหญ่)และเจ้าคณะตำบลวังขนาย อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรีพร้อมกับพาคณะผู้สื่อข่าวเดินทางเข้าพบและพูดคุยกับท่านพระครูวิสิฐกาญจนกิจเจ้าอาวาสวัดใหญ่ดงรัง(วัดส้มใหญ่) เพื่อสอบถามเกี่ยวกับแนวความคิดที่นำโอ่งจำนวนกว่า 700 ใบ ที่ชำรุดและแตกหักจากชาวบ้านในพื้นที่อำเภอต่างๆของจังหวัดกาญจนบุรี มาประติมากรรมใหม่สร้างสีสันความสวยงามและความแปลกใหม่ที่ไม่เหมือนใคร


ส่วนเรื่องของการนำโอ่งมาทำเป็นประติมากรรมอยู่นี้เกิดขึ้นจากที่อาตมาได้เห็นโยมทุบโอ่งทิ้งอาตมาเห็นเขาก็เสียดายมันหน้ามีประโยชน์มากว่าการนำไปทุบทิ้ง อาตมาจึงได้ขอโอ่งดังกล่าวจากชาวบ้านเพื่อนำมาประติมากรรมสร้างความสวยงามขึ้นในรูปแบบต่างๆตามที่ทุกคนเห็น โอ่งทุกใบที่ตั้งอยู่ในวัดใหญ่ดงรังล้วนมีค่ามีความหมายเหมือนเช่นโอ่งที่อาตมาทำเป็นรูปพยันชนะหรืออักษรไทยก็เพื่อให้คนไทยได้ระลึกถึง”พ่อขุนรามคำแหง”ผู้คิดค้นอักษรและภาษาไทยให้ลูกหลานได้เรียนรู้จนถึงปัจจุบัน และได้มีการนำโอ่งมาทำรั้วในครั้งนี้ของทางวัดส้มใหญ่ยังช่วยในเรื่องของการป้องกันดินถล่มและยังเป็นที่กั้นไม่ให้รถที่วิ่งและใช่ถนนเส้นด้านหน้าวัดไม่ให้ตกครองอีกด้วยเป็นการช่วยลดอุบัติเหตุให้กับพี่น้องประชาชนได้ด้วย รวมไปถึงแนวทางในการปฎิมากรรมโอ่งที่เราเห็นจะมีช่องก็เพื่อให้สัตว์เลี้ยงที่อาศัยอยู่ในวัดได้เข้าไปพักและอาศัยเหมือนกับเป็นบ้านของพวกมันที่สามารถกันแดดกันฝน ส่วนเรื่องของโอ่งที่ทางวัดได้มาก็รับการบริจาคมาจากญาติโยมในพื้นที่ไม่ว่าจะเป็นอำเภอท่าม่วง อำเภอพนมทวน อำเภอห้วยกระเจา เลาขวัญ และอีกหลายอำเภอพูดง่ายๆแทบจะทุกอำเภอของพื้นที่ของจังหวัดกาญจนบุรี และหลังจากที่ได้โอ่งมาอาตมาก็นำมาตกแต่งและวาดลวดลายต่างๆลงไปที่ผิวโอ่งเพื่อสร้างความสวยงามเพิ่มมากขึ้นอย่างที่เห็น
และบังได้นำโอ่งที่ชำรุดและแตกหักมาทำเป็นกำแพงวัดและกำแพงโบสถ์ถือได้ว่า สิ่งที่ท่านคิดเป็นแนวคิดที่ดีและแปลกใหม่สร้างความฮือฮาให้กับของชาวบ้านหนองขาวและผู้พบเห็นเป็นอย่างมากโดยเฉพาะการตกแต่งรูปทรงของโอ่งที่ชำรุดแตกหักที่ไร้ค่านำมาประติมากรรมเป็นรูปดอกบัว พยัญชนะไทย ที่นังพระสงค์เพื่อใช่ประกอบพิธีสงฆ์ และสัญลักษณ์ 12 ราษี ที่ติดตั้งอยู่ด้านหน้าพระอุโบสถหลังใหม่ของวัดใหญ่ดงรัง(ส้มใหญ่)ที่กำลังทำการก่อสร้างอยู่นั้น ตนจึงขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนชาวกาญจนบุรีและชาวไทยทั่วประเทศผู้มีจิตศรัทราร่วมทำบุญสร้างพระอุโบสถหลังนี้ให้แล้วเสร็จเพื่อพระสงฆ์จะได้นำไปใช่ประกอบพิธีทางสงฆ์ต่อไป


ประวัติความเป็นมาของใหญ่ดงรัง (วัดส้มใหญ่) เป็นวัดเก่าแก่ ไม่มีหลัดฐานการก่อนสร้าง แต่สันนฐานว่าน่าจะก่อสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาและโดยมีล่องรอยซากปรักหักพังของ โบสถ์ วิหาร มีอยู่ให้เห็น และเมื่อกรุงศรีอยุธยาสิ้นสุดลง วัดใหญ่ดงรัง (วัดส้มใหญ่)ได้กลายเป็นวัดร้างลงหลังจากพม่าได้เดินทางมาเข้าตีกรุงศรีอยุธยาและได้เผาและทำลายวัดจนหักพังราบเป็นหน้ากลองปล่อยให้วัดแห่งนี้กลายเป็นวัดร้างตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และได้บูรณะขึ้นใหม่เมื่อปี 2525 ครบรอบ 200 ปี กรุงรัตนโกสินทร์โดยมีพระครูวิสิฐกาญจนกิจเจ้าอาวาสวัดใหญ่ดงรัง (วัดส้มใหญ่) ร่วมกับชาวบ้านได้ทำการบูรณะขึ้นใหม่ จากนั้น ปี พ.ศ.2529 ได้ทำการขอยกวัดร้างให้เป็นวัดที่มีพระสงฆ์ กับสำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติ


วัดใหญ่ดงรัง (วัดส้มใหญ่) แห่งนี้ ตั้งอยู่หมู่ที่ 11 ตำบลหนองขาว อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ยังเกี่ยวข้องกับเรื่องราวตำนานเรื่องขุนช้างขุนแผน เนื่องจากวัดแห่งนี้ยังเป็นวัดที่นางทองประศรีมารดาของพลายแก้ว หรือ “ขุนแผน”ได้นำพลายแก้วมาทำการบวชเพื่อศึกษาเล่าเรียน ดังมีโครงฉันในเรื่อง ขุนช้าง ขุนแผน เขียนไว้ว่า
“จะกล่าวถึงพลายแก้ว แววไว เมื่อบิดบรรลัยแม่พาหนี ไปอาศัยอยู่ในกาญจนบุรี กับนางทองประศรี ผู้มารดา อยู่มาจนเจ้าเจริญวัย อายุนั้นได้ถึงสิบห้า ไม่วายคิดถึงพ่อที่มรณา แต่นึกนึกตรึกตรามากว่าปี อยากจะเป็นทหารชาญชัย ให้เหมือนพ่อขุนไกรที่เป็นผี จึงอ้อนวอนมารดาด้วยปราณี ลูกนี้จักใคร่รู้วิชาการ พระสงฆ์องค์ใด วิชาดี แม่จงเอาลูกนี้ไปฝากท่าน ให้เป็นอุปัชฌาอาจารย์ อธิฐานบวชลูกเป็นเณรไว้ ครานั้นทองประศรีผู้มารดา ได้ยินลูกว่าหาขัดไม่ อันสมภารที่ชำนานในทางใน ท่านขรัวตาวัดส้มใหญ่แลดีครัน เจ้าคิดดีแล้วแก้วแม่อา แม่จงเอาลูกนี้ไปฝากขรัวบุญท่าน จะได้รู้การรณรงค์คงกระพัน ให้เหมือนกันสืบต่อพ่อขุนไกร”
เกสร เสมจันทร์ กาญจนบุรี