ตรัง นศ.มทร.ศรีวิชัยไอเดีย เจ๋งสร้างเครื่องขึ้นรูปภาชนะบรรจุอาหารจากใบไผ่ ใบสัก ใบหูกวาง

นศ.มทร.ศรีวิชัยไอเดีย เจ๋ง สร้างเครื่องขึ้นรูปภาชนะบรรจุอาหาร ภาชนะบรรจุภัณฑ์ธรรมชาติปลอดสารพิษจากใบไผ่ ใบสัก ใบหูกวาง

นางสาวจริญญา มีมุสิทธิ์ นางสาวศิริวรรณ ชูช่วย นายนายจิระพงศ์ แก้วเจริญ และ นายเกษมสิทธิ์ ตั้งจรัสสุวรรณ นักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมการผลิต สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยสร้างเครื่องอัดขึ้นรูปภาชนะบรรจุอาหารขนาดเล็กจากใบไผ่โดยมี ผศ.วรพงค์ บุญช่วยแทน อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์เป็นที่ปรึกษา หลักการทำงานของเครื่องขึ้นรูปภาชนะบรรจุอาหารสามารถขึ้นรูปภาชนะบรรจุอาหารขนาดเล็ก โดยใช้จากวัสดุธรรมชาติในการออกแบบกลไกการทำงานของเครื่องหลักการทำงานจะใช้แม่พิมพ์อลูมิเนียมในการอัดใบไม้ใบหูกวางและใบสักให้มีลักษณะเป็นรูปจานและถ้วยโดยใช้ฮีตเตอร์แผ่นให้ความร้อนโดยตรงกับแม่พิมพ์และสามารถปรับระดับอุณหภูมิของแม่พิมพ์ได้เป็นอย่างดี และใช้แรงกดจากแม่แรงเมื่อฮีตเตอร์ให้ความร้อนกับแม่พิมพ์จนถึงอุณหภูมิที่ได้ตั้งเกณฑ์ไว้จากนั้นทำการกดแม่พิมพ์เพื่อทำการขึ้นรูปถ้วยและจานให้มีลักษณะตามต้องการข้อดีของเครื่องรุ่นนี้ สามารถอัดขึ้นรูปครั้งเดียวได้ภาชนะสองรูปแบบ คือ ภาชนะแบบกลม และภาชนะแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า และยังสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบของแม่พิมพ์ได้

โดยการตัดแต่งใบไม้ให้ได้ขนาดของแม่พิมพ์ตามความต้องการกำลังการผลิตเครื่องขึ้นรูปภาชนะจากใบไม้จะเท่ากับ 11 ชิ้นต่อชั่วโมง 77 ชิ้นต่อวัน หรือประมาณ 80 ชิ้นต่อวัน เครื่องขึ้นรูปภาชนะบรรจุอาหารภาชนะบรรจุภัณฑ์ธรรมชาติปลอดสารพิษ เป็นการพัฒนานวัตกรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวหลาดป่าเรียน ชุมชนพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ภายใต้โครงการ การพัฒนานวัตกรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวหลาดป่าเรียน ชุมชนพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โครงการยุวชนอาสา (Proposal) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 สนับสนุนงบประมาณโดยกองขับเคลื่อนและพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เครื่องดังกล่าวได้ดำเนินการนำไปใช้งานจริง และถือว่าภาชนะที่ได้สามารถนำไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ


โดยจะนำไปมอบให้กับชุมชนพะตงอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ได้นำไปใช้ส่งเสริมการท่องเที่ยว ซึ่งมีภาชนะบรรจุอาหารจากใบไผ่ ใบสัก ใบหูกวาง หรือใบไม้อีกหลากหลายชนิดไปใช้ในตลาด (หลาดป่าเรียน) นับว่าเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม และยังสามารถลดรายจ่ายในการซื้อภาชนะต่างๆ ให้กับชุมชน สร้างรายได้ สร้างความแปลกใหม่ให้กับนักท่องเที่ยว และยังสามารถนำไปต่อยอดในกิจกรรมต่างๆ ของชุมชนได้อีกด้วย

วศินี จิตภูษา นักประชาสัมพันธ์ ระดับชำนาญการ มทร.ศรีวิชัย
มนต์เจริญ ศรีมงคล จ.ตรัง