นครปฐม ม.ล.ปนัดดาสมาชิกวุฒิสภาเปิดงานสังคมสุขใจครั้งที่ 6

เริ่มแล้ว!!!! งานสังคมสุขใจปี 2562 ที่สวนสามพราน ขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์…สู่ชีวิตสมดุล เปิดตัว แอพพลิเคชั่น Thai Organic Platform  เชื่อมห่วงโซ่สินค้าอินทรีย์ วันแรก สุดคึกคัก ชวน ช้อปเปลี่ยนโลก ได้ทั้งสินค้าอินทรีย์ ความรู้ เครือข่าย แรงบันดาลใจ  ตั้งแต่13-15  ธันวาคม

เมื่อวันที่13ธันวาคม 2562 ที่ ตลาดสุขใจสวนสามพราน   อำเภอสามพราน   จังหวัดนครปฐม

..ปนัดดาดิศกุลสมาชิกวุฒิสภา, รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญการพิทักษ์และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์, ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็กเยาวชนสตรีผู้สูงอายุคนพิการและผู้ด้อยโอกาส, รองประธานคณะกรรมาธิการการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม, เลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรมของสมาชิกวุฒิสภาและกรรมาธิการ, กรรมาธิการวิสามัญศึกษาแนวทางการสร้างคนดีคนเก่งสู่สังคมเพื่อพัฒนาชาติไทยอย่างยั่งยืนวุฒิสภา เป็นประธานในพิธีเปิดงานสังคมสุขใจครั้งที่ 6  โดยมี นายสุนา  วงค์ละคร ปลัดอาวุโสอำเภอสามพราน ผู้แทนจังหวัดนครปฐม กล่าวต้อนรับ ร่วมด้วย คุณฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ รองผู้ว่าการด้านสินค้และธุรกิจท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย    คุณอรชร ว่องพรรณงาม ผู้อำนวยการฝายพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมไมซ์  สำนักงานส่งเสริมการประชุมและนิทรรศการ (สสปน.)  ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้อำนวยการ สำนัก5สำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส) และหน่วยงานราชการ ภาครัฐ ภาคเอกชน ร่วมพิธ  ซึ่งมีนายอรุษ นวราช เลขานุการมูลนิธิสังคมสุขใจ ประธานจัดงานสังคมสุขใจครั้งที่ 6  และผู้ริเริ่มการขับเคลื่อนสามพรานโมเดล หรือโมเดลธุรกิจเกื้อกูลสังคม กล่าวรายงาน  จากสถานการณ์ระบบอาหารที่ยังคงมีความไม่สมดุล     โจทย์ของการขับเคลื่อนสามพรานโมเดล ในปีที่ 9

 

และปีต่อไป ที่มุ่งให้เกษตรกร หยุดใช้สารเคมี หันมาทำเกษตรอินทรีย์ และมีการรวมกลุ่มอย่างเข้มแข็ง คือ ทำอย่างไรจึงจะสามารถยกระดับคนทั้งห่วงโซ่ โดยเฉพาะผู้บริโภค ให้เข้ามามีส่วนร่วมขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์ให้มากขึ้น  งานสังคมสุขใจครั้งที่ 6 ปีนี้  จึงเน้นไปที่สร้างการมีส่วนร่วมของผู้บริโภค ซึ่งมีเครื่องมือสำคัญ ที่จะเริ่มใช้ในงานนี้เป็นครั้งแรก ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมคือ แอพพลิเคชั่น  ไทยออร์แกนิก แพลตฟอร์ม   ที่จะช่วยเชื่อมโยงห่วงโซ่อาหารอินทรีย์ทั้งระบบ  มีความโปร่งใส  ทำให้คนต้นน้ำคือเกษตรกรมีการจัดการอย่างเป็นระบบ มีโอกาสและมีช่องทางการตลาด ที่เชื่อมต่อตรงกับผู้บริโภค   ส่วนผู้บริโภค โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่สามารถเข้าถึงแหล่งผลิตอาหารอินทรีย์  กิจกรรม  ได้สะดวก เชื่อมั่นได้ ราคาเป็นธรรรม และมีช่องทางเข้ามามีส่วนร่วมกิจกรรมการขับเคลื่อน

เพื่อให้คนไทยมีสุขภาพดีครบ 4 มิติ คือกาย จิต ปัญญาและสังคม โดยหนึ่งในภารกิจที่กำลังขับเคลื่อน คือการสร้าง “พื้นที่สุขภาวะ” ด้านอาหารและสุขภาวะให้เกิดขึ้น  ซึ่งสามพรานโมเดล ถือเป็นหนึ่งในโมเดลตัวอย่าง ที่สสส. สนับสนุน เพราะตอบโจทย์สุขภาวะในทุกมิติ  มีการส่วนร่วมของทุกภาคส่วน  ทำให้ผู้บริโภคตื่นรู้ ตระหนัก สนใจเรียนรู้ และมีความเข้าใจระบบอาหารยั่งยืน  อันสามารถขยายผลไปยังภูมิสังคมอื่น ๆ ได้   งานสังคมสุขใจ สวนสามพราน เป็นงานประจำปีที่จัดขึ้นต่อเนื่องมาเป็นครั้งที่ 6 แล้ว  ที่มีการทำงานสนับสนุนและส่งเสริมให้เกษตรกรเกิดการรวมกลุ่มภายใต้ระบบการรับรองอย่างมีส่วนร่วม   โดยในงาน ยังมีเวทีแชร์ประสบการณ์ เส้นทางการเรียนรู้และการขับเคลื่อน    และมีเครือข่ายเกษตรกรอินทรีย์จากทั่วประเทศ  รวมถึงเครือข่ายผู้ประกอบการ  มีเกษตรกรอินทรีย์ในเครือข่ายสามพรานโมเดล ตลาดสุขใจ และบูธของผู้สนับสนุน เช่นบูธเซ็นทรัลทำ ของกลุ่มเซ็นทรัล ที่ได้นำผลงานการขับเคลื่อนสังคม การสร้างอาชีพ สร้างการศึกษา  พัฒนาสินค้าชุมชนให้คนในท้องถิ่นมาแชร์    บูธ สสปน.  ที่มีการสรุปความรู้จากการขับเคลื่อนโครงการ Farm to Functions  ที่ทำให้เกษตรกรอินทรีย์ในจังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดสุรินทร์ มีลูกค้าเป็นโรงแรม 5 ดาว ในกรุงเทพฯ     ภายในงานมีการจำหน่าย ผลิตภัณฑ์ในงานสังคมสุขใจที่ได้รับความสนใจมีมากมาย อาทิ ข้าวอินทรีย์หลากสายพันธุ์รวมถึงข้าวพันธุ์พื้นมือง เช่น ข้าวปะกาอำปึล  จากบ้านทัพไทย จ.สุรินทร์  ข้าวหอมนครชัยศรี จ.นครปฐม   นอกจากนี้ยังมีพืชผักผลไม้เมืองหนาว เช่น อะโวคาโด เคพกูสเบอรี่จากบ้านห้วยขมิ้น อ.แม่แจ่ม   ฟักทองบัตเตอร์นัท จากสองแควออร์แกนิก จ.พิษณุโลก   มีผลิตภัณฑ์แปรูปจากสมุนไพร เช่น แยม ชาเก็กฮวย ชากุหลาบ จากเครือข่าย PGS ลำพูน และ กลุ่มม่วนใจ๋ กลุ่มเกษตรอินทรีย์วิถีธรรมชาติ  มีปัจจัยการผลิต เช่นเมล็ดพันธุ์อินทรีย์ กว่า 40 ชนิด จากสหกรณ์เกษตรอินทรีย์เชียงใหม่  มีการให้ความรู้จากมหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความรู้การดูแลสุขภาพองค์รวม  การตรวจสารพิษในผัก