กาญจนบุรี อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิเฝ้าระวังติดตามสังเกตการณ์พฤติกรรมช้างป่า

กาญจนบุรี   อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรีสังกัดสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 (บ้านโป่ง)
วันที่ 16 พฤศจิกายน 2562 .
เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ จำนวน 4 นาย โดยมีนายเกรียงไกร วิธินันทกิตต์ เป็นหัวหน้าชุด ร่วมกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองท้องที่ พร้อมราษฎร ชุดจิตอาสา หมู่ที่ 1,2 ตำบลหินดาด ปฏิบัติงานคุ้มครองเฝ้าระวัง ติดตามสังเกตการณ์พฤติกรรมช้างป่าในท้องที่อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี

นายเจริญ ใจชนหัวหน้าอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ เปิดเผยว่า คณะเจ้าหน้าที่ได้ติดตามสังเกตการณ์เฝ้าระวังช้างป่าที่บริเวณป่าบ้านพุรางหมู หมู่ที่ 3 ตำบลพุล่อ ตรวจพบโขลงช้างป่า จำนวนประมาณ 30 ตัว บริเวณพิกัดที่ 47P 0468563E 1608690N กำลังออกจากป่ามุ่งหน้าเข้าหากินบริเวณป่าผาผึ้ง คณะเจ้าหน้าที่จึงสังเกตการณ์เตรียมผลักดัน แต่ปรากฏว่าช้างป่าเริ่มแยกกระจายแบ่งเป็นกลุ่มละ 5-10 ตัว ในหลายช่องทางจึงยังไม่สามารถทำการผลักดันได้-เวลา 18.30 น. คณะเจ้าหน้าที่และชุดเฝ้าระวังช้างป่า ได้เฝ้าระวังสังเกตการณ์ช้างป่า บริเวณบ้านวังหิน(ป่าผาผึ้ง) หมู่ที่ 1 ตำบลหินดาด บริเวณพิกัดที่ 47P 0468031 E 1610123 N ไม่พบช้างป่าออกหากินในบริเวณดังกล่าว-เวลาประมาณ 21.00 น. ได้รับการแจ้งประสานว่ามีช้างป่าเข้าหากินในบริเวณบ้านหม่องกะลา (หลังวัดเขาแทงหมู) หมู่ที่ 2 ตำบลหินดาด คณะเจ้าหน้าที่และชุดจิตอาสาเฝ้าระวังจึงเข้าตรวจสอบ สังเกตการณ์บริเวณพิกัดที่ 47P 0467005E 1611845N ตรวจพบโขลงช้างป่า จำนวนประมาณ 20 ตัว กำลังหากินมุ่งหน้าไปทางวัดถ้ำหม่องกะลาจึงทำการผลักดันออกจากบริเวณดังกล่าวถึงบริเวณป่าหลังโบสถ์คริสเตียน บ้านวังหิน หมู่ที่ 1 ตำบลหินดาด บริเวณพิกัดที่ 47P 0469328E 1610312N โขลงช้างป่าได้แยกกระจาย หลายจุดและบางพื้นที่มีสภาพป่ารกทึบจึงไม่สามารถติดตามผลักดันต่อไปได้ จึงเฝ้าระวังสังเกตการณ์เตรียมผลักดันในบริเวณดังกล่าว


2. วันที่ 16 พฤศจิกายน 2562-เวลา 08.30 น. คณะเจ้าหน้าที่ติดตาม ตรวจสอบร่องรอยช้างป่า และโดยการแจ้งประสานทางโทรศัพท์ทราบว่าช้างป่าหากินหลบพักอาศัย บริเวณป่าบ้านพุรางหมู 3 ต.พุล่อ อ.ทองผาภูมิ บริเวณพิกัดที่ 47P 0468702E 1608411N จำนวนประมาณ 30 ตัว
3. แหล่งที่หลบพักอาศัยของช้างป่าอยู่นอกเขตอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ
4. ปัญหา/ข้อเสนอแนะ-พื้นที่มีหุบเขาหลายแห่งและสภาพป่ารกทึบช้างป่าสามารถใช้เป็นที่หลบพักอาศัยได้-ชุดเฝ้าระวังทั้งชาวบ้านและเจ้าหน้าที่มีกำลังน้อยไม่สามารถแบ่งกำลังเฝ้าทุกพื้นที่ได้เนื่องจากช้างป่าแยกโขลงกระจายการเข้าหากินหลายแห่งในเวลาเดียวกัน
เกษร เสมจันทร์