ตรัง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร่วมกับโรงพยาบาลวัฒนแพทย์ ตรัง Kick Off campaign สู้เพื่อเต้าปีที่ 2

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง ร่วมกับโรงพยาบาลวัฒนแพทย์ ตรัง Kick Off campaign สู้เพื่อเต้าปีที่ 2 รณรงค์ต้านภัยมะเร็งเต้านม หมั่นตรวจช่วยลดโอกาสเสี่ยงโรคมะเร็ง
ที่โรงพยาบาลวัฒนแพทย์ ตรัง นายแพทย์บรรเจิด สุขพิพัฒปานนท? นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดตรัง เป็นประธาน แถลงข่าวเปิดโครงการ รณรงค์ต้านภัยมะเร็งเต้านม สู้เพื่อเต้า ทั้งนี้นายแพทย์สมชาย จันทร์สว่าง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โรงพยาบาลวัฒนแพทย์ ตรัง เปิดเผยว่า ปัจจุบันมะเร็งเต้านมยังคงเป็นโรคมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับหนึ่งในผู้หญิง โดยมีอัตราผู้ป่วยรายใหม่ จากโรคมะเร็งเต้านม ประมาณ 30 รายต่อวัน และมีผู้เสียชีวิตโดยเฉลี่ยสูงถึง 10 คนต่อวัน เนื่องจากส่วนใหญ่จะพบผู้ ป่วยเป็นโรคมะเร็งเต้านมระยะที่ 2 ถึงระยะที่ 4 ซึ่งถือเป็นระยะลุกลาม และแพร่กระจายของโรคแล้ว   ทั้งนี้ผู้หญิงไทยที่เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ช่วงอายุมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งเต้านมได้ทุกคน แต่จะพบมากในช่วงอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไปขณะที่ผู้ชายก็มีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมได้ แต่พบน้อยกว่าผู้หญิงและส่วนใหญ่จะพบในผู้ชายสูงอายุจากแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมในประเทศไทยทำให้โรงพยาบาลวัฒนแพทย์ เล็งเห็นถึงความสำคัญ ในการส่งเสริมสุขภาพของผู้หญิงในพื้นที่จังหวัดตรังและจังหวัดใกล้เคียง ให้ห่างไกลจากโรคมะเร็งเต้านม

โดยร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรังจัดโครงการรณรงค์ต้านภัยมะเร็งเต้านมสู้เพื่อเต้าต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ขึ้นในระหว่างวันที่ 1 ถึง 31 ตุลาคม 2562 ซึ่งเป็นเดือนแห่งการรณรงค์ต้านภัยมะเร็งเต้านมโลก เพื่อกระตุ้นเตือนให้ผู้หญิงกลางและจังหวัดใกล้เคียงหันมาใส่ใจป้องกันตนเองจากโรคมะเร็งเต้านมด้วยการตรวจดิจิตอลเมมโมแกรมและอัลตร้าซาวด์อย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะกลุ่มผู้หญิงที่มีอายุเฉลี่ย 40 ปีขึ้นไป รวมถึงมีประวัติเคยเป็นมะเร็งเต้านมมะเร็งรังไข่หรือบุคคลในครอบครัวเคยเป็นมะเร็งเต้านมเป็นต้นเพื่อช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสในการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมอย่างสม่ำเสมอ ถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้หญิงเพื่อป้องกันตนเองในเบื้องต้นเพราะหากตรวจพบตั้งแต่ระยะแรกก็จะเพิ่มโอกาสในการรักษาให้หายขาดได้ นอกจากนี้ยังต้องควบคุมปัจจัยที่ทำให้เกิดมะเร็งเต้านม ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมควบคุมระดับน้ำตาลในร่างกายคนสูบบุหรี่และใช้ฮอร์โมนเสริมในกรณีที่จำเป็นเพราะจากสถิติพบว่าคนที่ใช้ฮอร์โมนเสริมติดต่อกันเกิน 2 ปีจะเพิ่มอัตราการเป็นมะเร็งเต้านมมากขึ้น
มนต์เจริญ ศรีมงคล จ.ตรัง