นครปฐม เทศบาลเมืองสามพราน อบรม อสม.เรื่องมะเร็งเต้านม&มะเร็งปากมดลูก&เรื่องเกลือไอโออีน

เทศบาลเมืองสามพราน อบรม อสม.เรื่องมะเร็งเต้านม&มะเร็งปากมดลูก&เรื่องเกลือไอโออีน

เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2562

เทศบาลเมืองสามพรานจัดอบรม อสม.เทศบาลเมืองสามพราน เรื่องมะเร็งเต้านม&มะเร็งปากมดลูก&เรื่องเกลือไอโออีน โดยมี แกนนำจิตอาสา อสม.เทศบาลเมืองสามพราน เข้าอบรมจำนวน70คน และได้เชิญ นางพัชรี  เกษรบุญนาค  หัวหน้ากลุ่มงานเวชปฎิบัติครอบครัวและชุมชน  โรงพยาบาลสามพราน เป็นวิทยากรให้ความรู้ แก่ อสม.แกนนำจิตอาสาเทศบาลเมืองสามพราน เกี่ยวกับการตรวจคัดกรองเรื่อง มะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากเทศบาลเมืองสามพราน   ซึ่ง “มะเร็งเต้านม” เป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของผู้หญิงไทย และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ในผู้หญิง แนวโน้มคนไทยป่วยเป็นโรคมะเร็งสูงขึ้นทุกปีแต่ยังพบน้อยกว่าประเทศทางตะวันตกมาก โดยหญิงไทยมีอัตราการพบมะเร็งประมาณ 40 คน ในสตรีวัยเจริญพันธุ์ 100,000 คน ซึ่งถ้าเทียบกับประเทศตะวันตกพบมะเร็งเต้านมได้มากกว่า 100 คน ในสตรีวัยเจริญพันธุ์ 100,000 คน ส่วนในผู้ชายก็พบมะเร็งเต้านมได้เช่นกันแต่ไม่บ่อยนัก โดยมีอุบัติการณ์ของโรคนี้น้อยกว่าผู้หญิงเกือบ100 เท่า  มะเร็งเต้านมเกิดจากความผิดปกติของเซลล์ที่อยู่ภายในท่อน้ำนมหรือต่อมน้ำนม เซลล์เหล่านี้มีการแบ่งตัวผิดปกติไม่สามารถควบคุมได้อาจมีการแพร่กระจายไปตามทางเดินน้ำเหลือง ไปสู่ต่อมน้ำเหลือง หรือแพร่กระจายไปสู่อวัยวะที่อยู่ห่างไกลเช่น กระดูก ปอด ตับ เป็นต้น การตรวจพบมะเร็งในระยะแรกจะช่วยให้การรักษามีโอกาสประสบความสำเร็จได้สูง

มะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งที่พบมากในผู้หญิง เป็นความผิดปกติของเซลล์ที่เกิดขึ้นบริเวณปากมดลูกสามารถตรวจพบได้ตั้งแต่ระยะแรกที่มีความผิดปกติ โดยการตรวจภายในร่วมกับการเก็บตัวอย่างเซลล์บริเวณปากมดลูกไปตรวจ มะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรกไม่มีสัญญาณ เมื่อมีอาการมักเป็นในระดับรุนแรง มะเร็งปากมดลูกส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (Human Papillomavirus) แม้จะมีหลายสายพันธุ์ แต่มีสายพันธุ์หลักที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในบริเวณอวัยวะเพศของทั้งหญิงและชาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง HPV 16 และ 18 เป็นสาเหตุหลักของการเกิดมะเร็งปากมดลูก และผู้ที่มีความเสี่ยง    คือ ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์แล้วทุกคน ทั้งผู้ที่มีคู่นอนหลายคน หรือคนเดียวก็ตาม แต่ผู้ที่มีคู่นอนหลายคนมีโอกาสได้รับเชื้อเอชพีวีมากขึ้น  แนวทางป้องกัน หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์หลายคู่นอน   หลีกเลี่ยงการติดเชื้อโรคที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง    เมื่อมีอาการผิดปกติ เช่น ตกขาวผิดปกติ เลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ ควรมาพบแพทย์    ผู้หญิงทุกคนที่มีเพศสัมพันธ์ ควรได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเพื่อค้นหามะเร็งปากมดลูก สำหรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากลูกช่วงการตรวจที่ดีที่สุดนั้น คือ 10 ที่อยู่ตรงกลาง โดย 1 เดือนจะแบ่งออกเป็น 3 ช่วง ช่วงละ 10 วัน โดยเป็นวันแรกที่มีประจำเดือนให้นับเป็นวันที่ 1 และนับต่อไปวันที่ 11 หลังจากที่มีประจำเดือนวันแรกไปจนถึงวันที่ 20 ซึ่งค่าเบี่ยงเบนนั้นจะมีน้อยกว่า นับว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการตรวจคัดกรองมากที่สุด และควรตรวจมะเร็งปากมดลูกอย่างน้อยปีละครั้ง

เกลือไอโอดีน    ไอโอดีน ( Iodine ) คือ แร่ธาตุที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการทำงานของต่อมไทรอยด์ ซึ่งช่วยควบคุมระบบเผาผลาญอาหารในร่างกาย แต่ร่างกายของเราไม่ได้มีความต้องการมากนัก และเมื่อร่างกายได้รับไอโอดีนก็จะเปลี่ยนให้เป็นไอโอไดด์  โดยร่างกายของเราจะมีไอโอดีนอยู่ประมาณ 25 มิลลิกรัม หรือคิดเป็นร้อยละ 0.0004 ของน้ำหนักตัว ซึ่งครึ่งหนึ่งจะถูกเก็บไว้ที่ต่อมธัยรอยด์ อีกส่วนหนึ่งจะอยู่ตามกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นผิวหนัง ขุมขน ต่อม น้ำลาย ระบบทางเดินอาหาร และกระดูก ส่วนในกระแสเลือดจะมีไอโอดีอยู่ค่อนข้างที่จะน้อยมากหน้าที่ของไอโอดีนคืออะไร?

  1. ช่วยในการทำงานและการเจริญเติบโตของต่อมธัยรอยด์ และเป็นส่วนหนึ่งของฮอร์โมนไทรอกชิน ( Thyroxine ) ซึ่งต่อม ธัยรอยด์ผลิตขึ้น โดยมีหน้าที่ก็คือควบคุมอัตราเมแทบอลิซึมภายในร่างกาย ต่อมธัยรอยด์เป็นส่วนหนึ่งในร่างกายที่มีความสำคัญต่อสภาพจิตใจ ผม ผิวหนัง เล็บ และฟัน การเปลี่ยนแคโรทีนให้เป็นวิตามินเอ การสังเคราะห์โปรตีน โดยไรโบโซมรวมทั้งการดูดซึมน้ำตาลจากลำไส้เล็ก ซึ่งหากฮอร์โมนไทรอกชินถูกผลิตออกมาตามปกติ การทำงานของสิ่งต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาแล้วก็จะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
  2. ช่วยให้สมองเกิดความตื่นตัวและมีประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะหลังตื่นนอน
  3. ช่วยให้การผลิตพลังงานของร่างกายเป็นไปตามปกติ จึงทำให้ร่างกายมีพลังงานอย่างเพียงพอ
  4. ช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกายและช่วยกระตุ้นการเผาผลาญไขมันในร่างกาย ลดความเสี่ยงโรคอ้วนหรือไขมันอุดตัน
  5. ช่วยกระตุ้นการทำงานของหัวใจให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  6. ช่วยให้แคลเซียมและฟอสฟอรัสเคลื่อนย้ายจากกระดูกให้มากขึ้น
  7. ช่วยในการขับถ่ายปัสสาวะและควบคุมการกระจายของน้ำตามอวัยวะต่างๆ
  8. ช่วยกระตุ้นในการหลั่งน้ำนมทำให้มีน้ำนมหลั่งออกมามากขึ้น