เชียงใหม่ ชมรมคนพร้าวรักษ์ป่าไอเดียเก๋ จัดกิจกรรมปลูกป่าแทนการถวายเทียนพรรษา

เชียงใหม่ ชมรมคนพร้าวรักษ์ป่าไอเดียเก๋ จัดกิจกรรมปลูกป่าแทนการถวายเทียนพรรษา

ชมรมคนพร้าวรักษ์ป่าไอเดียเก๋ จัดกิจกรรมปลูกป่าบวชป่าเนื่องในโอกาสครบรอบ 7 ปีชมรมคนพร้าวรักป่า แทนการถวายเทียนพรรษา ก่อนเทศกาลเข้าพรรษา เพื่อเป็นการทำบุญและเพิ่มพื้นที่ป่าต้นน้ำให้อุดมสมบูรณ์ ชมรมคนพร้าวรักษ์ พระภิกษุสงฆ์สามเณร ร่วมกับอุทยานแห่งชาติศรีลานนา ตลอด 7 ปีที่ผ่านมา ทำให้ชาวบ้านเกิดความตระหนักและรักษ์ป่าโดยการนำศาสตร์พระราชามาใช้ ซึ่งสามารถรักษาผืนป่า 8แสน 7 หมื่นไร่ และสามารถขอคืนผืนป่าและปลูกป่าไปแล้ว 1 หมื่นกว่าไร่ และสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น 600 แห่ง จนทำให้ชาวบ้านในอำเภอพร้าว เกิดความตระหนักและรักษ์ป่า


ฝ่ายปกครองอำเภอพร้าวและนักศึกษาจากประเทศสหรัฐอเมริกา ร่วมกันทำบุญก่อนเข้าพรรษา แทนการถวายเทียน โดยการปลูกป่าในพื้นที่บ้านแม่บอน หมู่ 4 ตำบล โหล่งขอด อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ บนพื้นที่ป่า กว่า 10 ไร่ ที่ทางอุทยานแห่งชาติศรีลานนาได้ทวงคืนผืนป่าจากชาวบ้านเมื่อปี 2555 โดยได้มีการนำต้นไม้ 2 พันต้น 4 ชนิด ทั้งมะขามป้อม มะข่าโมง เสี้ยวดอกขาว และหว้า มาปลูก

พระครูวรวรรณวิวัฒน์ ดร. เจ้าคณะตำบลโหล่งขอด อำเภอพร้าวและเจ้าอาวาสวัดดอยเวียงชัยมงคล เปิดเผยว่า สำหรับการปลูกป่าครั้งนี้นั้นเนื่องจากเป็นการครบ 7 ปีกับคนพร้าวรักษ์ป่า ต้นแบบเครือข่ายชุมชนกับการบูรณาการดูแลป่าต้นน้ำ อย่างยั่งยืนที่มีการเริ่มดำเนินการตั้งสมัยนายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชนั้นเป็น ผอ.สบอ.ที่ 16 ซึ่งครั้งนั้นเกิดปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่า เพื่อทำกินและล่าสัตว์ ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ก็พยามทุกวิถีทางในการแก้ปัญหาโดยการใช้กฏหมายและใช้กำลังเจ้าหน้าที่จนเกิดการกระทบกระทั่งกันทั้งสองฝ่ายจนเกิดการปะทะกันขี้นบ่อยครั้งจนอดีต ผอ.สบอ. 16 ในขณะนั้นต้องลงพื้นที่มาดูและมาพูดคุยกับชาวบ้านและผู้นำในชุมชมร่วมทั้งพระสงฆ์ จนเริ่มมีความเข้าใจและเกิดชมรมคนพร้าวรักษ์ป่า และดำเนินกิจกรรมควบคู่กัน จนถึงปัจจุบันสามารถรักษาผืนป่า 8แสน 7 หมื่นไร่ และสามารถขอคืนผืนป่าและปลูกป่าไปแล้ว 1 หมื่นกว่าไร่ และสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น 600 แห่ง จนทำให้ชาวบ้านในอำเภอพร้าว เกิดความตระหนักและรักษ์ป่าโดยการนำศาสตร์พระราชามาใช้จนกลายเป็นต้นแบบของศรีลานนาโมเดลที่บางจังหวัดที่เกิดปัญหาคนอยู่กับป่าต้องเข้าดูงานและนำไปปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาในพื้นที่ของตัวเอง

 

 

ด้านร้อยตำรวจโทนคร ปัญญาทิพย์ ที่ปรึกษาชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านอำเภอพร้าว เปิดเผยว่า สำหรับพื้นที่อำเภอนั้นก่อนหน้านี้ประสบปัญหาภูเขาหัวโล้นมีการบุกรุกพื้นที่ทำกินบางพื้นที่มีการปลูกฝิ่นและปลูกพืชเชิงเดี่ยวและทำขยายพื้นที่ไปเรื่อยๆ เนื่องพื้นที่ทำกินซ้อนทับกับพื้นที่อุทยาน บ่อยครั้งจึงเกิดปัญหาระหว่างชาวบ้านกับเจ้าหน้าที่แต่เมื่อ 7 ปีที่ผ่านมา นายธัญญา เนติธรรมกุล ขณะนั้นดำรงตำแหน่ง ผอ.สบ. 16 ได้ลงพื้นที่รับทราบปัญหาได้ให้แนวคิดกับเจ้าหน้าที่ในการดำเนินการว่าทำอย่างไรก็ได้ให้ผู้ที่บุกรกป่า ให้กลับมาเป็นผู้รักษาป่าดูแลป่าโดยที่ไม่กระทบกับที่ทำกินและผืนป่ายังคงสมบูรณ์ ซึ่งเป็นการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำให้ประชาชนในพื้นที่มีแหล่งน้ำในการเกษตร ไม่ต้องมีการบุกรุกพื้นที่ป่าเพิ่ม หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่อุทยานจึงได้เข้ามาพูดคุยกับชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านขอความร่วมมือสร้างกฏกติการ่วมกันจนทำให้ทุกวันนี้อำเภอพร้าว จึงไม่มีการบุกรุกพื้นที่เพิ่มเนื่องจากทุกหมู่บ้านทุกชุมชน ต้องมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาป่าทำให้ผืนป่าในอุทยานแห่งชาติศรีลานนาที่คลอบคลุม 3 อำเภอทั้งอำเภอแม่แตง อำเภอเชียงดาว และอำเภอพร้าว กลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง 000000000จบ000000000

https://drive.google.com/file/d/18hRe8_f-6oob6BTXEueGxb9d8iCziYqF/view?usp=sharing

https://drive.google.com/file/d/1-Q0yCeGcOFI355B8f8vT7K0rhCTWnq65/view?usp=sharing

https://drive.google.com/file/d/1tU6Oe1lVU-KxcNlGu3AZc7-umzPgnWjY/view?usp=sharing