ผู้ว่าปทุมธานี เยี่ยมชม“พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า” แหล่งเรียนรู้ที่ทรงคุณค่า ตามรอย ในหลวงร.9 “กษัตริย์นักพัฒนา”

ผู้ว่าปทุมธานี เยี่ยมชม“พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า” แหล่งเรียนรู้ที่ทรงคุณค่า ตามรอย ในหลวงร.9 “กษัตริย์นักพัฒนา”
วันนี้ (10 ก.ค.62) เวลา 09.30 น. ที่ พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ดร.พินิจ บุญเลิศ ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์พระรามเก้า พร้อมด้วย นายผล ดำธรรม รองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี นางอภิญาณ์ หทัยธรรม รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ หัวหน้าส่วนราชการเข้าเยี่ยมชม พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า เป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติในโอกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ อพวช. จึงมีความตั้งใจที่จะสร้างพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
“พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า” ของ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ(อพวช.) คลองห้า จ.ปทุมธานี ซึ่งสร้างขึ้นเนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในหลวง รัชกาลที่ 9 ด้วยจุดประสงค์เพื่อ แสดงให้เห็นหลักการคิด วิธีการทรงงานและกระบวนการค้นหาคำตอบตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของในหลวงรัชกาลที่ 9 และให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของอาเชียนและของโลกเริ่มตั้งแต่ ส่วนที่ 1OUR HOME นำเสนอเรื่องราวของการก่อกำเนิดจักรวาลระบบสุริยะ และโลก BIGBANG สรรพชีวิตบนโลกเป็นผลสืบเนื่องมาจากการระเบิดครั้งใหญ่หรือ Big Bang ซึ่งก่อให้เกิดจักรวาล ระบบสุริยะ และโลกของเราSHELTER กว่าโลกจะกลายมาเป็น “บ้าน” ที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตนั้น ได้ผ่านวิวัฒนาการมาอย่างยาวนาน เกิดปรากฏการณ์ต่างๆ มากมาย เช่น การก่อตัวและการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกซึ่งทำให้เกิดสภาพภูมิประเทศแบบต่างๆ วัฏจักรของน้ำที่ก่อให้เกิดการหมุนเวียนของน้ำภายในโลก ลักษณะ ชั้นบรรยากาศ อุณหภูมิ กระแสลม กระแสน้ำ ฯลฯ ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ เอื้อให้สิ่งมีชีวิตกำเนิดขึ้น ซึ่งในเวลาต่อมาได้มีการปรับตัวให้เข้ากับลักษณะทางกายภาพของโลกที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ LIFE ชีวิตบนโลกเริ่มต้นขึ้นจากการเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว ต่อมาอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมส่งผลให้สิ่งมีชีวิตปรับตัวจนมีรูปแบบที่ซับซ้อนขึ้นและถ่ายทอดลักษณะต่างๆ สู่ลูกหลานผ่านดีเอ็นเอ EVOLUTION AND MASS EXTINCTION สิ่งมีชีวิตต้องพยายามปรับตัวเพื่ออยู่รอดได้โดยสะท้อนให้เห็นผ่านทางรูปแบบของวิวัฒนาการและระหว่างทางได้เผชิญกับการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่หลายครั้ง ร่องรอยดังกล่าวนี้ปรากฏให้เห็นผ่านซากดึกดำบรรพ์ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ได้นำมาศึกษาเพื่อบอกเล่าถึงความเป็นมาของโลกและสิ่งมีชีวิตHUMAN ODYSSEY ในห้วงเวลาแห่งวิวัฒนาการอันยาวนานของสิ่งมีชีวิต สายพันธุ์มนุษย์ได้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อใด? มีชีวิตและความเป็นอยู่อย่างไร? และเผ่าพันธุ์ของเราจะเป็นอย่างไรต่อไป? เป็นคำถามที่สำคัญที่สามารถค้นหาคำตอบได้จากส่วนจัดแสดงนี้ ผ่านตัวอย่างมนุษย์สายพันธุ์หลักๆ ที่แสดงถึงวิวัฒนาการทางกายภาพ จนกระทั่งมนุษย์สามารถยืนตัวตรง เดินสองขาได้อย่างมั่นคง

รวมไปถึงการใช้มือที่มีลักษณะพิเศษ และสติปัญญาในการสร้างสรรค์วัฒนธรรม เพื่อปรับตัวและอยู่รอดตามสภาพแวดล้อมของโลกที่แตกต่างกันออกไป ไปจนถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต จนกระทั่งเกิดสายพันธุ์มนุษย์ที่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันในพื้นที่ต่างๆ ของโลก โลกและการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตหรือการกำเนิดโลก ที่ใช้เวลาเพียง 10 นาทีผ่านการนำอย่างเข้าใจง่ายจากวีดิโอ   ส่วนที่ 2 OUR LIFE แสดงสิ่งแวดล้อมและการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตรวมถึงมนุษย์ ภายในชีวนิเวศ (Biome) ต่างๆ ได้แก่ Antarctica, Arctic, Tundra, Taiga, Desert, Temperate และ Tropical ตลอดจนอิทธิพลของมนุษย์ต่อสภาพแวดล้อมนั้นๆ ซึ่งบางกิจกรรมก่อให้เกิดผลกระทบในทางลบต่อระบบนิเวศ นอกจากนี้ยังแสดงถึงเขตภูมินิเวศ (Ecoregion) ของประเทศไทยอีกด้วย ANTARCTICA เป็นชีวนิเวศบริเวณขั้วโลกใต้ที่ไม่มีมนุษย์อาศัยอยู่อย่างถาวร ยกเว้นนักวิทยาศาสตร์ที่เข้าไปศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับโลกและสิ่งมีชีวิต เนื่องจากมีความหนาวเย็นมาก อุณหภูมิต่ำสุดอยู่ระหว่าง -49 ถึง -89 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ตามสิ่งมีชีวิตบางชนิดทั้งพืชและสัตว์ที่สามารถปรับตัวและดำรงชีวิตอยู่ได้ท่ามกลางสภาพอากาศอันรุนแรงนี้แม้ Antarctica ไม่มีมนุษย์อาศัยถาวร แต่ผลกระทบจากพฤติกรรมของมนุษย์จากชีวนิเวศอื่นก็สร้างปัญหาให้เกิดขึ้นได้โดยเฉพาะปัญหารอยรั่วของชั้นโอโซน  ARCTIC เป็นชีวนิเวศที่เต็มไปด้วยน้ำแข็งและเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตหลากหลายสายพันธุ์ที่ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมแบบนี้ได้ เช่น วาฬ หมีขาว วอลรัส แมวน้ำ รวมทั้งมนุษย์ เช่น ชาวอินูอิท (Inuit) ซึ่งสร้างที่อยู่อาศัยชั่วคราวจากก้อนน้ำแข็ง เรียกว่า Igloo ปัจจุบัน Arctic เป็นพื้นที่หนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาโลกร้อน ทำให้เกิดปรากฏการณ์น้ำแข็งละลาย  TUNDRAเป็นชีวนิเวศที่มีความหนาวเย็น มีช่วงอากาศอบอุ่นสั้นมาก ประมาณ 50-60 วัน พืชส่วนใหญ่จึงเป็นพืชขนาดเล็ก เช่น หญ้า มอสส์ ดอกไม้ต่างๆ มีมนุษย์อาศัยอยู่หลายเผ่าพันธุ์ เช่น ชาว Nuatak, ชาว Yupik ซึ่งดำรงชีพโดยการเลี้ยงเรนเดียร์ ความโดดเด่นที่ไม่เหมือนชีวนิเวศเขตอื่นคือการเกิดขึ้นของฝูงยุงนับล้านตัวในช่วงฤดูร้อน  TAIGA ความโดดเด่นของชีวนิเวศเขตนี้ คือแนวป่าสนขนาดใหญ่ เป็นชีวนิเวศบนบกที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศแบบสุดโต่งคือมีฤดูหนาวยาวนานมีฤดูร้อนช่วงสั้นๆ เป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อปัญหาสภาพแวดล้อม เช่น ไฟป่า การบุกรุกจากแมลง เป็นต้นDESERTมีสภาพภูมิอากาศแบบสุดโต่งในอีกลักษณะหนึ่ง คือเต็มไปด้วยความแห้งแล้ง สิ่งมีชีวิตต่างๆ จึงต้องมีการปรับตัวเพื่อความอยู่รอด เช่น อาศัยในหลุมหรือรู การเปลี่ยนใบให้เป็นหนามของต้นกระบองเพชร เป็นต้น
TEMPERATE ความโดดเด่นของชีวนิเวศเขตนี้ คือการมี 4 ฤดูกาล ได้แก่ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว การปรับตัวของสิ่งมีชีวิตจึงเปลี่ยนไปตามฤดูกาล ส่วนจัดแสดงนี้นำเสนอผ่าน 5 พื้นที่ ได้แก่ Central Europe, North America, South America, Australia และ East Asia TROPICAL เป็นชีวนิเวศที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นในทุกลำดับความสูงของป่า แสงแดดและน้ำฝนมีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง และมีความแตกต่างกัน นำเสนอผ่าน 5 พื้นที่สำคัญ ได้แก่ Africa, Madagascar, Neotropic, Southeast Asia และ Papua New Guinea
TAHILAND ECOSYSTEM SERVICE : SOIL ดิน เป็นทุนทางธรรมชาติที่สำคัญ ส่วนนิทรรศการนี้ จึงเป็นการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับดิน เช่น คุณสมบัติของดินที่เหมาะสมกับการใช้ประโยชน์ต่างๆ การบริหารจัดการดินเพื่อให้เกิดความยั่งยืน และสมดุลระหว่างมนุษย์กับทรัพยากรธรรมชาติ THAILAND ECOSYSTEM SERVICE : WATER น้ำ คือต้นทุนทางธรรมชาติที่สำคัญต่อการดำรงชีพของสิ่งมีชีวิต นำเสนอตั้งแต่วัฏจักรของน้ำ ในประเทศไทย การใช้ประโยชน์จากน้ำ แนวคิด และวิธีบริหารจัดการ รวมทั้งปัญหาของน้ำและวิธีการแก้ไขTHAILAND ECOREGION ส่วนจัดแสดงนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนจัดแสดงสำหรับการอธิบายแนวคิด และความหมายของคำว่าเขตภูมินิเวศ (Ecoregion) ซึ่งเป็นการแบ่งพื้นที่ตามความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตตามชีวภูมิศาสตร์ (Biogeography) พื้นที่อีกส่วนหนึ่งเป็นการจำลองป่าที่มีความแตกต่างกัน 4 แห่ง ได้แก่ ป่าดิบเขา, ป่าเต็งรัง, ป่าดิบชื้น และป่าพรุ สำหรับพื้นที่ด้านนอกอาคาร ทำการจำลองพื้นที่ชุ่มน้ำซึ่งเป็นระบบนิเวศดั้งเดิมของทุ่งรังสิต  ส่วนที่ 3 OUR KING บริเวณนี้จะมีการจัดแสดงรถ และจำลองเครื่องมือเครื่องใช้ที่พระองค์ใช้ประจำ จนถึงจำลองห้องทรงงานให้ชมด้วย และก่อนออกจากโซนนี้จะมีเก้าอี้ให้สวมแว่น VR จำลองเป็นนักบินเครื่องทำฝนหลวง ซึ่งจะได้ดูตั้งแต่เครื่องขึ้น จนถึงการโปรยสารเคมีต่าง ๆ ที่จะมีกราฟิกขึ้นให้ความรู้ประกอบ และยาวจนกระทั่งเห็นเม็ดฝนลงเลยทีเดียวพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่9 ทรงเป็นแบบอย่างที่ดีของนักวิทยาศาสตร์ ทรงมีวิธีคิด วิเคราะห์ เพื่อแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ทรงมองเห็นความสัมพันธ์ของทั้งระบบในองค์รวม เมื่อรวมเข้ากับหลักการบริหารจัดการ จึงนำมาสู่โครงการพระราชดำริ หลักคิด หลักปรัชญา ที่พระราชทานเป็นแนวทางในการดำรงอยู่ของมนุษย์กับโลกใบนี้อย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า จะทดลองเปิดให้บริการเพื่อทดสอบระบบในวันที่ 15 มิ.ย.-14 ก.ค.นี้ ก่อนจะพร้อมเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในช่วงปลายปีนี้ สนใจเข้าชมลงทะเบียนได้ที่ส่วนบริการผู้เข้าชม อพวช. โทร. 0-2577- 9960” องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ การบริการ (วัน เวลา เปิด-ปิด) วันอังคาร-วันศุกร์
ตั้งแต่เวลา 09.30-16.00 น. วันเสาร์ – วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 09.30-17.00 น.
โทร: 02577-9999, แฟกซ์: 02577-9900อีเมล์: nsm_mkt@nsm.or.th หยุดวันจันทร์