รพ.สต.บ้านบางม่วงเปิดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มลดเสี่ยงโรคอ้วนในเด็กวัยเรียน

รพ.สต.บ้านบางม่วงเปิดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มลดเสี่ยงโรคอ้วนในเด็กวัยเรียน

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2562 ที่โรงเรียนวัดบางช้างใต้  ตำบลบางช้าง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

นายนิคม ลิ้มสงวน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางช้าง เป็นประธานเปิดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มลดเสี่ยงโรคอ้วนในเด็กวัยเรียน” ซึ่งจัดโดย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบางม่วง ตำบลบางช้าง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

โดยมีนางสาวสินีนาฎ แก้วไทรหาญ ในนามผู้จัดทำโครงการฯกล่าวรายงานวัตถุประสงค์ พร้อมเชิญ นางสาววิภาวี เกษรบุญนาค นักโภชนาการโรงพยาบาลสามพรานและทีมนักกายภาพบำบัด ร่วมเป็นวิทยากรให้ความรู้แก่นักเรียนในครั้งนี้.

ด้วยปัจจุบันสภาวะเศรษฐกิจและสังคมไทยได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากทำให้ วิถีชีวิตคนไทยเปลี่ยนเข้าสู่ความเป็นสังคมเมือง ที่เต็มไปด้วยความเร่งรีบ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว มีผลกระทบต่อแบบแผนการบริโภคอาหารของครอบครัวและเด็กวัยเรียนเป็นอย่างมาก การบริโภคอาหารที่ต้องอาศัยความรวดเร็ว เพื่อความสะดวกต่อการดำรงชีพ ทำให้เกิดค่านิยมใหม่ ในเรื่องการบริโภคอาหารประเภทจานด่วน อาหารสำเร็จรูป อาหารกึ่งสำเร็จรูปเข้ามามีบทบาท โดยเฉพาะกับเด็กวัยเรียน ซึ่งอาหารประเภทนี้ส่วนใหญ่จะมี แป้ง น้ำตาลและไขมันสูง

 

อีกทั้งปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ทันสมัยและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆรวมทั้งการติดเกมส์ ติดโซเชียล ทำให้เด็กวัยเรียนมีการเคลื่อนไหวและออกกำลังกายน้อยลง  องค์ประกอบเหล่านี้เป็นสาเหตุของการเกิดโรคในเด็ก  ซึ่งโรคอ้วนในเด็กกำลังเป็นปัญหาสำคัญ  ที่เพิ่มขึ้นในประเทศที่พัฒนาและกำลังพัฒนา  สำหรับประเทศไทยแนวโน้มภาวะอ้วนในเด็กวัยเรียนมีแนวโน้มสูงขึ้นมาก  จนน่าเป็นห่วงและภาวะอ้วนมีโอกาสเป็นโรคร้ายแรงอื่นๆได้มากกว่าปกติเช่น  โรคหัวใจขาดเลือด  โรคไขมันในเลือดสูงโรคเบาหวาน ข้ออักเสบ ขาโก่ง รวมทั้งสมาธิสั้น. ซึ่งการจัดโครงการในครั้งนี้ เพื่อให้เด็กวัยเรียนมีพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก3อ. คือ  1.อาหาร  2.ออกกำลังกาย  3.อารมณ์ เพื่อให้เด็กวัยเรียนที่มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพรวมทั้งให้โรงเรียนและผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการดำเนินงานแก้ไขปัญหาเด็กนักเรียนที่มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนให้มีจำนวนไม่เกินร้อยละ 10 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด