เชียงใหม่เชียงใหม่ ลาหู่จัดรวมเผ่าสร้างวัด(หอแหย่)

เชียงใหม่  ลาหู่จัดรวมเผ่าสร้างวัด(หอแหย่)
30 พฤศจิกายน2567
พี่น้องชาติพันธ์ลาหู่นับถือศาสนาพุทธจัดสร้างวัดในหมู่บ้านเพื่อเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมสั่งสอนชาวบ้านในวิถีพุทธ โดยทั่วไปแล้วชาติพันธ์ลาหู่ยังมีความเชื่อเรื่ององเทพเจ้าอยู่ แต่ในปัจจุบันนี้เริ่มที่จะรับเชื่อค่อนมาทางพระพุทธศาสนาเกือบเต็ม100%กันแล้วเพราะว่าการศึกษาสอนให้ใจในความจริงและความเชื่อที่ถูกต้อง ในหมู่บ้านนี้ก็จะมีโรงเรียนการศึกษานอกโรงเรียนมีครูอยู่ประจำสอนทั้งเด็กและผู้ใหญ่เพื่อให้อ่านออกเขียนได้ วันนี้ทางกลุ่มชาติพันธ์พี่น้องชาวลาหู่ หย่อมบ้านปางมะขามป้อม (ดั่งเดิมมีต้นมามป้อมมาก)ตำบลศรีดงเย็น อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ ได้ร่วมกันจัดสร้างวัด(หอแหย่)ในหมู่บ้านเพื่อเป็นสถานที่ยึดทางจิตใจ การสร้างวัดหรือ(หอแหย่)นี้ทางพี่น้องจะแจ้งให้ทุกพื้นที่ทุุกๆหมู่บ้านทราบโดยทั่วกัน ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนเมื่อทราบก็จะร่วมใจในการสมทบหรือบริจาคเงินในการสร้างวัด(หอแหย่)นั้นๆ

 ในวันนี้ทางนายอภิชาติ ผู้นำทางหมู่บ้าน และนายสีละ จะแฮ่ นายกสมาคมลาหู่เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ได้นำการทำพิธีทางศาสนาพุทธดั่งเดิมของชนเผ่าโดยได้เชิญ โตโบ(พระผู้ชาย) และ แม่โบ(พระผู้หญิง) ในหลายพื้นที่มาร่วมในการกระทำพิธีแห่เครื่องไทยทาน ต้นเงิน ทอดผ้าป่า หาเงินสมทบสร้างวัด(หอแหย่)ตามแบบฉบับของขนบธรรมเนียมตามประเพณีดั่งเดิมของชนเผ่าลาหู่ เป็นการอนุรักษ์ไม่ให้สูญหายและทำการสืบสานต่อไปโดยยังเป็นพิธีเก่าสืบสานจากบรรพบุรุษสืบกันมา มีการรดน้ำผู้อาวุโส เพื่อล้างสิ่งไม่ดีออกจากกาย และเป็นการขาคาราวะผู้อาวุโส หรือแขกที่มาเยี่ยมเยือนในหมู่บ้าน หรือเป็นการขอขมาลาโทษสิ่งที่ทำไปด้วยการตั้งใจหรือไม่ตั้งใจทั้งทางกายทางวาจาและทางจิตใจ เป็นการอภัยกันซึ่งทางชนเผ่าลาหู่ยังถือปฏิบัติกันอยู่ โตโบ,แม่โบ นั้นจะมีหน้าที่เหมือนพระ และจะทำการประกอบพิธีกรรมต่างๆในหมู่บ้าน และที่สำคัญต้องทำการสอนศาสนาให้กับประชาชนลูกบ้าน ทุกวันพระ แต่จะมีพิธีกรรมสะเดาะเคราะห์เพิ่มอีกทาง มีผู้เข้าร่วม60 หมู่บ้าน สิ่งของสำคัญูในหอเหย่ โต๊ะบูชา หรือชาวลาหู่เรียกว่า “กะปะแต” เป็นที่สำหรับเทพเจ้า (กือซา) ลงมาประทับ และเป็นที่สื่อสารกับผู้นำศาสนาถือว่าเป็น ที่สำคัญที่สุด ในศาสนสถาน นกเทพเจ้าจะมี 2 ตัวคู่กันมีตัวผู้และตัวเมีย ชาวลาหู่เรียกตัวผู้ว่า นานะบุจุแงะ และตัวเมียเรียกว่า นะสิจุแงะ เขาจะเชื่อกันว่าเป็น นกของพระเจ้าที่จะนำพาขวัญของผู้ที่เสียขวัญกลับคืนมาเข้าสู่ร่างกาย นกไม้ 2 ตัวนี้จะอยู่คู่กับบ่อน้ำทิพย์ เรียกว่า ลิเด่ ซึ่งผู้นำศาสนา จะคอยเติมน้ำทุก ๆ วันศีลโดยแต่ละเดือนจะมีวันศีลอยู่ 2 วัน

คือ วันแรม และขึ้น 15 ค่ำของทุกเดือนจะถือวันศีล ดังนั้นชาวลาหู่ก็หยุดทำงานเพื่อถือศีล และได้มีการจัดเตรียมเครื่องบูชาที่จะนำไปทำบุญที่หอเเหย่เพื่อทำพิธีกรรม ทางศาสนาจากนั้นก็มีการเต้น “ปอยแตแว” หรือ “จะคึ” กันอย่างสนุกสนาน ถือกันว่าถ้าเต้นมากก็จะได้บุญมาก ผู้ทำพิธีกรรมทางศาสนาผู้ไหว้และบูชาขอพรสวดมนต์นั้นจะต้องเป็น “โตโบ” ซึ่งเป็นผู้ที่ทำหน้าที่สอนศาสนา และเป็นสื่อกลาง ระหว่างชาวบ้านกับเทพเจ้ากือซา นอกจากนี้โตโบยังต้องปฏิบัติหน้าที่ที่จะต้องดูแลรักษาหอแหย่อีกด้วย เพราะเป็นคนที่มีความเมตตากรุณา และเป็นบุคคลที่ชาวบ้านยอมรับนับถือ การเป็นโตโบจะต้องเป็นผู้ที่ได้รับการสื่อสารจากเทพเจ้า หรือกือซาเข้าทรง ผู้เฒ่าในชุมชนเล่าว่าผู้ที่จะมาเป็น โตโบ ได้นั้นจะต้องมีบุคลิกดังนี้ เป็นคนที่มีความเมตา และชอบช่วยเหลือผู้อื่น โดยจะให้ความรักกับทุกคนในหมู่บ้าน และไม่เลือกที่ จะลำเอียงข้างใดข้างหนึ่ง มีความซื่อสัตย์ สุจริต ต่อตนเองและผู้อื่น ไม่คิดเบียดเบียนผู้อื่นในทั้งทางตรง และทางอ้อม เป็นคนที่มีจิตใจ กายที่บริสุทธิ์ ไม่ชอบการฆ่าสัตว์ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด และน้ำมึนเมาทุกชนิด จะเป็น โตโบ ได้นั้นอยู่ที่เทพเจ้า หรือกือซาจะทรงร่างเท่านั้นถึงเป็นโตโบได้ หรือเป็นผู้นำศาสนาชาวลาหู่ในขณะที่บุคคลภายนอกมองไม่เห็นประโยชน์ของความ เชื่อของชาวลาหู่ แต่กลับมองเป็นความเชื่อที่งมงาย ไร้สาระ ลาหู่ซึ่งมีวิถีชีวิตแตกต่างจากชาวเขาเผ่าอื่น ๆ ซึ่งยังคงเหนียวแน่น ในวิถีชีวิตที่บรรพบุรุษสร้างสมกันมา และถ่ายถอด ไว้เป็นมรดกของเผ่าพันธุ์ อาจกล่าวได้ว่าชาวเขาทั้งหมด ลาหู่เป็นชาวเขาที่สม่ำเสมอ ในขนบธรรมเนียมประเพณีทางศาสนาของตนเองมากที่สุด คนลาหู่จะเชื่อฟังคำสั่งสอน ของผู้นำศาสนา มีการไปชุมนุมกันที่หอแหย่ ทุกวันขึ้นและแรม 15 ค่ำ เพื่อการทำพิธีกรรมทางศาสนา เนื่องจากเป็นวันศีล มีการรดน้ำเพื่อล้างบาปในตอนเย็น และตอนค่ำก็จะมีการเต้นรำกันอย่างสนุก

นายสำราญ แสงสงค์ ข่าว
อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่