สุพรรณบุรี   นศ.ปปร.27จัดโครงการพัฒนาชุมชนประชาธิปไตยอย่างยั่งยืน

สุพรรณบุรี   นศ.ปปร.27 จัดโครงการพัฒนาชุมชนประชาธิปไตยอย่างยั่งยืนบนฐานทุนภูมิศาสตร์และวัฒนธรรม
คณะนักศึกษาสถาบันพระปกเกล้า หลักสูตร การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง ปปร.รุ่นที่ 27 ได้ลงพื้นที่ ตำบลจระเข้สามพัน เพื่อทำโครงงานศึกษาในภาคพลเมือง เรื่องการพัฒนาชุมชนประชาธิปไตยอย่างยั่งยืนบนฐานทุนภูมิศาสตร์และวัฒนธรรม กรณีศึกษาเขตพื้นที่จรเข้สามพัน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี (Value Creation from Ecological and Cultural Capital in U-Thong District )
วันที่ 2 ก.พ.2567 นางพชรพรรณ มาตรศรี เปิดเผยว่าคณะนักศึกษาสถาบันพระปกเกล้า หลักสูตร การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง ปปร.รุ่นที่ 27 ได้ลงพื้นที่ ตำบลจระเข้สามพัน เพื่อทำโครงงานศึกษาในภาคพลเมือง เรื่องการพัฒนาชุมชนประชาธิปไตยอย่างยั่งยืนบนฐานทุนภูมิศาสตร์และวัฒนธรรม กรณีศึกษาเขตพื้นที่จรเข้สามพัน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี (Value Creation from Ecological and Cultural Capital in U-Thong District )


ในฐานะนักศึกษา ปปร.รุ่นที่ 27 และเป็นผู้ประสานงานส่วนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ซึ่งไดัรับการต้อนรับและร่วมมือจากผู้นำชุมชนและชาวบ้าน ตำบลจรเข้สามพัน ทั้ง 15 หมู่บ้าน ในการจัดเวทีเสวนา แสดงความคิดเห็นและความต้องการ เรื่องการพัฒนาตำบลจรเข้ ในวิถีวัฒธรรม สิ่งแวดล้อม อุทยานน้ำตกพุม่วง ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยชุมชนคนจระเข้บริหารจัดการเอง
วัตถุประสงค์ในการจัดทำโครงงานกลุ่มความเข้มแข็งของระบอบประชาธิปไตย ไม่ได้จำกัดอยู่ที่ระบบพรรคการเมืองและการเลือกตั้งเท่านั้น แต่รากฐานที่แท้จริงของระบอบประชาธิปไตยอยู่บนพื้นฐานของความเข้มแข็งของประชาชนภาคพลเมืองที่มีความตระหนักในสิทธิของตนและการเคารพสิทธิของผู้อื่น การรู้หน้าที่ความรับผิดชอบของตนต่อสังคมโดยรวมในฐานะพลเมือง รวมไปถึงความสามารถของชุมชนในการวางแผน การบริหารจัดการ และการร่วมกันพัฒนาสร้างความเจริญในพื้นที่ที่ชุมชนตั้งอยู่การส่งเสริมประชาธิปไตยในระดับพื้นที่เป็นปัจจัยสำคัญของความเข้มแข็งของระบอบประชาธิปไตยของประเทศ
การพัฒนาประชาธิปไตยในระดับพื้นที่ต้องเป็นการพัฒนาโดยประชาชนในพื้นที่เองร่วมกันทำ ตั้งแต่การออกแบบอนาคตของชุมชน การวางแนวทางการพัฒนา การวางกติกา และการขับเคลื่อนการดำเนินการที่ต่อเนื่องและยั่งยืน ดังนั้นการพัฒนาประชาธิปไตยในพื้นที่จึงเป็นการสร้างความสามารถให้ความสามารถของประชาชนในชุมชนในการบริหารจัดการตนเองและดึงศักยภาพของพื้นที่ออกมาสร้างมูลค่าและคุณค่าเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืนในระยะยาว


โครงงานกลุ่มของหลักสูตร ปปร. 27 “กลุ่มบำรุงเมือง” ยึดเอาแนวทางส่งเสริมประชาธิปไตยระดับชุมชนพื้นที่ มาส่งเสริมการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนให้เติบโตทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครอง และการดูแลรักษาและใช้ประโยชน์สิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนระยะยาวเพื่อประชาชนโดยประชาชนในพื้นที่ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อส่งเสริมศักยภาพและสร้างความสามารถชุมชนจรเข้สามพันในการร่วมกันกำหนด
ภัทรพล พรมพัก สุพรรณบุรี