กรุงเทพมหานคร วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ให้ความรู้การใช้โทรศัพท์ให้ปลอดภัยจากมิจฉาชีพแก่ผู้เกษียณอายุ สฟน.

กรุงเทพมหานคร
วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ให้ความรู้การใช้โทรศัพท์ให้ปลอดภัยจากมิจฉาชีพแก่ผู้เกษียณอายุ สฟน.
ที่ชมรมพนักงานเกษียณอายุสโมสรการไฟฟ้านครหลวง (สฟน.) นายอุทิศ จันทร์เจนจบ ประธานชมรมพนักงานเกษียณอายุสโมสรการไฟฟ้านครหลวง เป็นประธานในพิธีเปิดการบรรยายพิเศษเรื่อง “ ใช้โทรศัพท์อย่างไร ให้ปลอดภัยจากมิจฉาชีพ “ ได้รับการสนับสนุนวิทยากรจากสำนักวิชาการ วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ นำโดย ดร.ธเรศวร์ ธนะสมบูรณ์ ที่ปรึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ ,นายเริงชัย พะวุฒ รักษาการหัวหน้าภาควิชาบริหารธุรกิจ ,นางสาวปิยมาภรณ์ เหมือนทอง หัวหน้าแผนกวิชาพื้นฐานธุรกิจ และครูแผนกวิชาพื้นฐานธุรกิจ และนักเรียน ร่วมกันให้ความรู้ แนะนำการใช้โทรศัพท์มือถืออย่างไรให้ปลอดภัยจากมิจฉาชีพ โอกาสนี้ นายอุทิศ จันทร์เจนจบ ได้กล่าวขอบคุณคณะวิทยากรจากวิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ที่ให้ความรู้ ข้อควรระมัดระวังจากการใช้โทรศัพท์มือถือและสื่อโซเชียลต่างๆ ซึ่งในปัจจุบันมีการหลอกลวงจากกลุ่มมิจฉาชีพในรูปแบบหลากหลายวิธี ทำให้ผู้หลงเชื่อต้องสูญเสียทรัพย์สินโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ด้านนายเริงชัย พะวุฒ กล่าวว่ากิจกรรมการบรรยายพิเศษนี้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมCSRทางวิชาการของสำนักวิชาการ เพื่อให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อชมรมพนักงานเกษียณอายุสโมสรการไฟฟ้านครหลวง กลุ่มผู้สูงอายุเป็นกลุ่มเสี่ยงที่อาจถูกหลอกลวงจากมิจฉาชีพ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องรับทราบถึงวิธีการป้องกันและรู้เท่าทันกับการหลอกลวงทางโทรศัพท์และสื่อโซเชี่ยล ปัจจุบันพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์และสื่อโซเชี่ยลในสังคมออนไลน์ได้แก่ การปรึกษาและรับบริการทางการแพทย์ออนไลน์ 86.16%, การติดต่อสื่อสารออนไลน์ 65.70%, ดูรายการโทรทัศน์/ดูคลิป/ดูหนัง/ฟังเพลงออนไลน์ 41.51%, ดูถ่ายทอดสดเพื่อซื้อสินค้า/บริการออนไลน์ 34.10%, ทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ 31.29%, อ่านโพสต์/ข่าว/บทความ/หนังสือออนไลน์ 29.51%, รับ-ส่งอีเมล์ 26.62%, ชอบปิ้งออนไลน์ 24.55%, ทำงาน/ประชุมออนไลน์ 20.67% และ เล่นเกมส์ออนไลน์ 18.75%

ส่วนนายวิชาญ ศิลป์วุฒิยา เลขานุการชมรมพนักงานเกษียณอายุสโมสรการไฟฟ้านครหลวง ได้กล่าวขอบคุณและประโยชน์ที่พนักงานเกษียณอายุได้รับจากการบรรยายว่าทุกวันนี้โซเชี่ยลเน็ตเวิร์คเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตประจำวันของทุกคน ทุกวัย เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสาร การศึกษา การทำธุรกิจ ตลอดจนเป็นแหล่งความบันเทิงต่างๆ ขณะเดียวกันภัยอันตรายที่มากับสื่อโซเชี่ยลก็มีมากมาย ดังนั้น ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือและสื่อโซเชี่ยลจึงควรรู้จักวิธีการใช้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย เพื่อป้องกันความเสี่ยงหรือภัยอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ตัวอย่างรูปแบบการฉ้อโกงของมิจฉาชีพทางอินเตอร์เน็ต เช่น การประมูลสินค้า,การใช้บัตรเครดิตโดยไม่ได้รับอนุญาต,การหลอกลวงให้ใช้บริการเกี่ยวกับเว็บไซต์,การหลอกลวงให้ประกอบธุรกิจทางบ้าน และการหลอกลวงโฆษณาหรือขายยามหัศจรรย์ เป็นต้น .