นนทบุรี  ผช.ปลัด ศธ.ตรวจเยี่ยมการเรียนการสอนวิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์

นนทบุรี  ผช.ปลัด ศธ.ตรวจเยี่ยมการเรียนการสอนวิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์
ที่วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ อ.เมือง จ.นนทบุรี นายสมใจ วิเศษทักษิณ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยนายประจวบ อินทรโชติ ผู้อำนวยการโรงเรียนทวีธาภิเษกและนายสุริยันต์ เหล่ามะลึก ผู้อำนวยการโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ไปตรวจเยี่ยมการจัดหลักสูตรการเรียนการสอนระบบทวิภาคี โดยมีนายวิเชียร เนียมน้อม ผู้แทนผู้รับใบอนุญาตและผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์และคณะผู้บริหารวิทยาลัยฯ,ผู้จัดการภาคการศึกษา ศูนย์การเรียนปัญญาภิวัฒน์,ผู้บริหารสำนักความร่วมมือให้การต้อนรับ

โอกาสนี้ นายวิเชียร เนียมน้อม ได้กล่าวขอบคุณคณะผู้ช่วยปลัดกระทรวงศึกษาธิการที่ให้ความสนใจเยี่ยมชมการจัดหลักสูตรการเรียนการสอนระบบทวิภาคี และได้บรรยายสรุปถึงนโยบายด้านการศึกษาของบริษัท ซีพีออลล์ จำกัด(มหาชน)ที่ให้ความสำคัญต่อการศึกษาของชาติ เพื่อ “มุ่งสร้างเยาวชน สู่มืออาชีพ” ในสายอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีโดยมีหน่วยงานดูแลการศึกษาคือ วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์,ศูนย์การเรียนปัญญาภิวัฒน์20ศูนย์ทั่วประทศ และสถานศึกษาในความร่วมมืออีกหลายจังหวัด สาขาวิชาที่เปิดสอนได้แก่ สาขาวิชาธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่,สาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง , สาขาวิชาแมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์ และสาขาวิชาเทคนิควิทยาการนาฬิกา ทำการเปิดสอนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.)และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) การจัดหลักสูตรการเรียนการสอนถือได้ว่าเป็นต้นแบบการศึกษาระบบทวิภาคี และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการศึกษา(Educational Change) เพื่อมุ่งพัฒนาคนให้มีคุณภาพ มีทักษะความชำนาญ สามารถทำงานได้จริงเพื่อตอบสนองความต้องการของสถานประกอบการ วิทยาลัยฯจึงมีความพร้อมในความร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการในการพัฒนาและสนับสนุนการศึกษาของชาติให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

ด้านนายสมใจ วิเศษทักษิณ ได้กล่าวขอบคุณและชื่นชมนโยบายและผลงานด้านการศึกษาของซีพีออลล์,วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์,ศูนย์การเรียนปัญญาภิวัฒน์และสถานศึกษาในความร่วมมือที่ช่วยส่งเสริมและพัฒนาระบบการศึกษาของชาติ โดยเฉพาะการจัดการศึกษาระบบทวิภาคี (Dual Vocational Edcucation) เป็นการศึกษาที่ตอบโจทย์ได้จริง เป็นการบูรณาการวิชาสามัญเข้ากับวิชาชีพสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การศึกษาของขาติที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดทักษะความรู้ความชำนาญ ตรงกับความต้องการของสถานประกอบการ ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนนี้ยังช่วยสร้างโอกาสทางการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชนได้มีโอกาสเท่าเทียมกัน เป็นพลังขับเคลื่อนให้เป็นคนดีของสังคมและประเทศชาติได้ และทั้ง2ฝ่ายยังได้เห็นสอดคล้องกันในการปรับปรุงพัฒนาระบบการศึกษา เช่น การย่นระยะเวลาเรียนของหลักสูตร, การให้นักเรียนได้เลือกเรียนในสาขาวิชาที่ตนเองชอบ, ได้เรียนในสิ่งที่ทำ – ทำในสิ่งที่เรียน และเมื่อเรียนจบแล้วมีความสุขในก่รทำงาน เป็นต้น.