นครศรีธรรมราช ทีมงาน สวพ.มทร.ศรีวิชัย นำทีมบันทึกภาพผลสำเร็จของงานวิจัย

สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย นำทีมถ่ายลงพื้นที่นำเสนอ ผลสำเร็จของงานวิจัยในโครงการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ววน. ประจำปีงบประมาณ 2563
ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช (ไสใหญ่) ทีมงาน สวพ.มทร.ศรีวิชัย นำทีมบันทึกภาพผลสำเร็จของงานวิจัยในโครงการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม : การพัฒนาและเพิ่มศักยภาพทางการท่องเที่ยวเพื่อยกระดับมาตรฐานการท่องเที่ยวจังหวัดพังงา โดยมี ผศ.ศิริลักษณ์ อินทสโร ผอ.แผนการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพทางการท่องเที่ยวเพื่อยกระดับมาตรฐานการท่องเที่ยวจังหวัดพังงา เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้และผลสำเร็จของงานวิจัยดังกล่าว สำหรับแผนการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพทางการท่องเที่ยวเพื่อยกระดับมาตรฐานการท่องเที่ยวจังหวัดพังงามีวัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อพัฒนาหลักสูตรที่รองรับมาตรฐานวิชาชีพทางการท่องเที่ยว ที่สนองตอบต่อความต้องการของท้องถิ่นและบริบทของพื้นที่ในจังหวัดพังงา, เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศที่จำเป็นในพื้นที่ชุมชน เพื่อรองรับการขยายตัวด้านการท่องเที่ยวจังหวัดพังงา,

เพื่อพัฒนาโมบายล์แอปพลิเคชันระบบช่วยเหลือนักท่องเที่ยวด้านความปลอดภัยจากอุบัติเหตุท่องเที่ยวและภัยพิบัติ ในพื้นที่เขาหลัก จ.พังงา, เพื่อใช้กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์สำหรับจัดลำดับความต้องการของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับระบบจำหน่ายผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวจังหวัดพังงา, เพื่อส่งเสริมสื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์จังหวัดพังงาแบบมีส่วนร่วมกับชุมชน เพื่อยกระดับมาตรฐานสากล รองรับไทยแลนด์ 4.0, เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษให้แก่บุคลากรภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาคมในภาคการท่องเที่ยวให้มีศักยภาพต่อการแข่งขันในระดับสากล, เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางทักษะภาษา เพื่อสร้างความเข้มแข็งของบุคลากรทางการท่องเที่ยว, เพื่อสร้างฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพตามแนวชายฝั่งทะเล และจัดทำสื่อเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรร่วมกับชุมชนในพื้นที่อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา
นอกจากนี้ ผศ.ศิริลักษณ์ อินทสโร ผอ.แผนฯ ได้พาลงพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวที่ได้มีการอบรมเพิ่มศักยภาพทางการท่องเที่ยวให้แก้ชาวบ้านในชุมชนตำบลบ่อแสน อ.ทับปุด จ.พังงา

ซึ่งที่นี่มีผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น ได้แก่ ต้นชก หรือต้นเหนา โดยนำผลลูกชกมาเชื่อม ทำเป็นของหวาน ส่วนยอดอ่อนใช้ทำอาหาร, งวงหรือดอก ใช้ทำน้ำตาลสด น้ำตาลผง และน้ำตาลแว่น ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างรายได้ให้แก่ชาวบ้านในชุมชนอย่างมาก นอกจากนี้ทางผศ.ศิริลักษณ์ อินทสโร ผอ.แผนฯได้มีการสร้างและพัฒนาหลักสูตรที่ชาวบ้านสามารถออกแบบโลโก้ผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์เองได้ และสามารถไลฟ์สดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของตนเองได้ด้วย นับว่าเป็นผลสำเร็จของงานวิจัยในโครงการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ที่สามารถส่งเสริมการตลาดและการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนได้