นครปฐม นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดคลายสงสัยแจงกรณี เจอ แจก จบ

จากกรณีประชาชนสงสัยการเจอ แจก จบ ของสาธารณสุขคืออะไร เกี่ยวข้องกับประกันหรือไม่ ทางด้าน นายแพทย์วิโรจน์ รัตนอมรสกุล  นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครปฐม ได้เดินทางมาตรวจ ผลการดำเนินการ เจอ แจก จบ ที่โรงพยาบาลสามพราน(วัดไร่ขิง) โดยมี นายแพทย์ทินกร  ชื่นชม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสามพราน พร้อมแพทย์หญิงอัญชนา  มณีงาม  นางพัชรี เกษรบุญนาค  รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลสามพราน  แพทย์  พยาบาล และนายประมวล  โฆษิตชัยมงคล  สาธารณสุขอำเภอสามพราน ร่วมต้อนรับ

โดยนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครปฐม ได้กล่าวว่า   ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคมทุกโรงพยาบาลในจังหวัดนครปฐมก็จะมีเรื่องของ เจอแจกจบ  ก็คือเป็นทางเลือกถ้าผู้ป่วยมาตรวจที่โรงพยาบาล ATKบวกหรือมีผลATKบวกมาจากบ้าน  เราก็จะเข้าระบบการรักษาก็คือมาตรวจประเมินว่าจะเป็นขนาดไหนจำเป็นจะต้องเอกซเรย์หรือเปล่า มีความเสี่ยงอะไรบ้าง

……เจอแจก  ก็จะให้ยาอย่างน้อยก็ยาพื้นฐานเช่นยาลดไข้   ยาละลายเสมหะส่วนยาอื่นๆเราก็จะมาประเมิน  รวมทั้งถามทางผู้ป่วยอีกทีหนึ่ง   ยาต้านไวรัสเรามีตั้งแต่บางส่วนที่แข็งแรงก็ไม่จำเป็นจะต้องรับยาเลย  หรือบางส่วนก็จะได้ยาฟ้าทะลายโจรหรือกลุ่มที่เสี่ยงอีกก็จะได้ยากลุ่มต้านไวรัสก็คือฟาวิพิราเวียร์

ในส่วนของเรื่องจบ……..ก็คือเนื่องจากจำนวนผู้ป่วยมากขึ้นเราก็จะมีขบวนการติดตามประเมินที่ 48 ชั่วโมงจะมีการโทรไปสอบถามอาการผู้ป่วย ว่าเป็นยังไงก็คือถ้าไม่มีอาการก็ไม่จำเป็นจะต้องย้ายคนไข้เข้ามาในระบบการรักษา   เราก็คิดว่าจบเคสนี้   แต่ในส่วนการรักษายังมีอยู่ก็คือคนไข้ยังคงต้องกักตัวอยู่ 10 วันเพราะจำนวนที่มากขึ้นเราพบว่าในผู้ป่วยของโอไมครอนส่วนใหญ่ร้อยละ 90% เป็นกลุ่มสีเขียวและไม่มีอาการ และส่วนใหญ่ไม่มีอาการที่ลงปอดถ้าเราประเมินได้ดีตั้งแต่แรกเราก็จะสามารถคัดแยกผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงได้จะทำให้ลดภาระของตัวโรงพยาบาลและตัวคนไข้เองก็จะสะดวกขึ้นเราก็จะมีเวลาไปดูแลคนไข้กลุ่มที่มีอาการหนักให้ดีขึ้นและในส่วนของจังหวัดนครปฐมในจำนวนคนไข้ที่หนัก    ก็คือเพิ่มมากขึ้นจากจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มมากขึ้นแต่ในเรื่องของความรุนแรงเฉลี่ยแล้วคือเท่าเดิมในส่วนของอัตราการเสียชีวิต พอกับค่าประเทศคือ 0.18 ในกลุ่มของผู้เสียชีวิตก็จะคล้ายๆกัน จะเป็นกลุ่มผู้สูงอายุผู้มีโรคประจำตัวเฉลี่ยอายุ 70 กว่ามีประวัติไม่ได้ฉีดวัคซีนและที่เรารณรงค์ก็คือประมาณ 50 กว่า% ที่ได้รับวัคซีนไปแล้วในส่วนของตัววัคซีนก็น่าจะช่วยในการลดความรุนแรง

ในส่วนของโรงพยาบาลสนามก็ยังเป็นทางเลือกอีกทีเพราะในตอนนี้ของเราก็จะเปิดในหลายระบบคือการที่ผู้ป่วยอยู่บ้านก็จะแบ่งเป็นสองระบบกลุ่มของที่เพิ่มขึ้นมาก็คือกลุ่มที่เจอแจกจบและกลุ่มของHOME (HI) และส่วนที่มาอยู่ในระบบการรักษาก็มีตั้งแต่ท้องถิ่นเข้ามาร่วมดูแลก็คือศูนย์พักคอยหรือว่า CI ตอนนี้จังหวัดนครปฐมก็จะเปิดเพิ่มขึ้นอีก 2,500 เตียงซึ่งมีเตียงโรงพยาบาลสนามและโรงพยาบาลหลักตอนนี้ก็มีประมาณ 1,600 เตียงและจะขยายเพิ่มในกรณีผู้ป่วยสีแดงเพิ่มขึ้นเป็น 1,800ถึง 2,000 ก็คิดว่าในผู้ป่วยทั้งหมดเราคิดถึงเรื่องกรณีที่คนไข้มากสุด ดูจากสถิติตอนช่วงของที่เราเคยพีคก็คือในช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เราเคยมีคนไข้อยู่ในมือถึง 8,000 กว่าคนตอนนี้เราก็คิดไว้ว่าเตรียมไว้สำหรับคนไข้ที่ประมาณเท่าเดิมก็คือ 8,000 กว่าคนก็คือเป็นคนไข้อยู่ในระบบโรงพยาบาล  โรงพยาบาลสนามประมาณครึ่งหนึ่งแล้วอยู่บ้านอีกประมาณครึ่งหนึ่ง

และส่วนของจังหวัดนครปฐมในครั้งนี้คิดว่าดีขึ้นเพราะผู้ป่วยครั้งนี้ดีกว่าเฟสของเดลต้า   เพราะผู้ป่วยที่เข้าโรงพยาบาลสนามเข้า CI ที่เราแยกประเมินส่วนใหญ่ไม่มีอาการที่จะมาเป็นปอดบวมจำเป็นต้องมาให้อ๊อกซิเย่นหรือส่งต่อแทบจะไม่มีเลยแทบจะเป็นศูนย์เลย ถ้าเรามีการประเมินในกลุ่มเสี่ยงและนำเข้าโรงพยาบาลในตั้งแต่แรกมันก็จะไม่เกิดปัญหาขึ้นสถานการณ์ในช่วงนี้ยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์การรักษาแต่ก็ยังคงต้องเพิ่มมาตรการเข้มข้นขึ้นเกรงว่าการพบผู้ป่วยติดเชื้อจำนวนมากขึ้นเรากลัวว่าจะเกินระบบที่เราจะรองรับเราจึงต้องมีมาตรา ที่เข้มขึ้นเช่นของมาตรการของร้านอาหารเพราะว่ามีการลักลอบการจำหน่ายสุรากันในช่วงดึกกับในเรื่องของปิดโรงเรียนชั่วคราวพักสองสัปดาห์   เพื่อดึงเพราะตอนนี้เห็นว่ามาตรการที่เราทำขึ้นไปทำให้จำนวนคนไข้ได้มีการชะลอลงจึงทำให้มีความเดือดร้อนทางพี่น้องประชาชนคือ ไม่สามารถเปิดทุกอย่าง แล้วให้จำนวนคนไข้ลดลงซึ่งมันเป็นไปได้ยากครับ  นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครปฐม ได้กล่าว