ทส. ขับเคลื่อน G-Green ด้วยชีวิตวิถีใหม่ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม

ทส. ขับเคลื่อน G-Green ด้วยชีวิตวิถีใหม่ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม
……………………………………………………………….
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) โดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สส.) กำหนดเรื่องการผลิต การบริการและการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นยุทธศาสตร์หนึ่งของหน่วยงาน
โดยขับเคลื่อนการดำเนินโครงการ G-Green ประกอบด้วย โครงการ Green Product , Green Hotel , Green Office , Green National Park , Green Restaurant รวมทั้งได้ขยายสู่โครงการ Green Airportและ Green Coffee Shop โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้ผลิต ผู้บริการ และผู้บริโภคปรับพฤติกรรม มุ่งสู่สังคมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม


นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมภาคีภาคส่วนต่างๆ ในการผลิต  การบริการ และการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มาตั้งแต่ปี 2557 อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทุกภาคส่วนให้ความสำคัญ ใส่ใจ และเห็นคุณค่าการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และมีประสิทธิภาพ การประหยัดพลังงาน คำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม ประชาชนและสังคมส่วนรวม ส่งต่อแนวคิดการผลิต การบริการ และการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสู่การปฏิบัติจริงและเห็นผลเชิงประจักษ์


โดยมีกลุ่มเป้าหมายในภาคการผลิต ได้แก่ สถานประกอบการขนาดเล็กส่วนของภาคบริการ สำนักงาน โรงแรม, ร้านอาหารอุทยานแห่งชาติ รวมถึงผู้บริโภคระดับประชาชนและใช้เกณฑ์การประเมินที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม G Green เป็นเครื่องมือ มีคณะกรรมการระดับประเทศ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรและหน่วยงานต่างๆ ร่วมตรวจประเมินและรับรอง หน่วยงานที่ผ่านการประเมินจะได้รับตราสัญลักษณ์ G – Green แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ระดับดีเยี่ยม (G ทอง) ระดับดีมาก (G เงิน) และระดับดี (G ทองแดง) มีอายุการรับรอง 3 ปี


ปลัด ทส. กล่าวต่อว่าการขับเคลื่อน G – Green ด้วยวิถีชีวิตใหม่ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ให้การรับรองสถานประกอบการ หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน มากกว่า 1,854 แห่ง ครอบคลุม 76 จังหวัด
ทั่วประเทศ สามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เห็นผลอย่างชัดเจน ส่งผลให้เกิดการนำแบบอย่างที่ดีสู่
การขยายผลไปยังสถานประกอบการ และหน่วยงานอื่นๆ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ร่วมกัน ต่อยอดยกระดับสู่มาตรฐานในระดับสากล ซึ่งตัวอย่างสถานประกอบการที่ได้รับการรับรองระดับดีเยี่ยม G ทอง ในประเภทต่าง ๆ เช่น ร้านโบ.ลานได้รับการรับรอง Green Restaurant เป็นร้านอาหารระดับ 5 ดาว ใช้แนวคิดที่ให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับหนึ่ง ตั้งแต่การคัดแยกขยะจากต้นทาง ด้วยแนวคิด Zero FoodWaste และ Upcycling เปลี่ยนของเสียมาใช้ประโยชน์ใหม่


ทำให้ขยะหมดไปโดยไม่ต้องรอรถขยะมาเก็บทุกวันแม้แต่ก้านผักโหรพาก็มาใช้ปรุงกลิ่นน้ำดื่ม เพื่อใช้บริการในร้าน แนวคิดต่างๆ ถูกนำถ่ายทอดส่งต่อถึงพนักงานทุกคนสู่การปฏิบัติ ส่วน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้รับการรับรอง Green Office ต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2558 มุ่งมั่นการจัดซื้อสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การจัดการขยะ โดยมีเป้าหมาย zero waste tolandfill ปัจจุบันสามารถลดขยะได้ 90% คัดแยกขยะในสำนักงานได้ละเอียดกว่า 70 ประเภท นอกจากนี้ยังขยายผลเชิญชวนองค์กรพันธมิตร ชุมชนบนถนนรัชดาภิเษก ร่วมมือกันในการจัดการขยะภายใต้โครงการ Carethe Whale ขยะล่องหน ขับเคลื่อนการจัดการสิ่งแวดล้อมไปด้วยกัน


ส่วนโรงแรม Sivatelได้รับการรับรอง GreenHotelเป็นโรงแรมระดับ 5 ดาว โรงแรมใหญ่ที่รุ่มรวยด้วยความยั่งยืน การบริหารจัดการโรงแรมใช้แนวคิดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ใส่ใจเรื่องพนักงาน วัตถุดิบอาหารที่ปลอดภัย ปริมาณขยะที่เกิดขึ้น 12,000 กิโลกรัมต่อวันได้เกินกว่าครึ่ง และปลูกจิตสำนึกผู้มาใช้บริการให้สำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม
และร้าน MATA COTTONจังหวัดเชียงใหม่ ได้รับการรับรอง GreenProduct ต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2561 จนถึงปัจจุบัน ในการผลิต ฟอกย้อม ทอ และแปรรูปสิ่งทอ มีนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและมีการดำเนินงานชัดเจนเป็นรูปธรรม อีกทั้งยังได้พัฒนาการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพ ลดการใช้น้ำ และลดการใช้สีย้อมเกินความจำเป็นในกระบวนการผลิต การจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนสำหรับ Goldy Herb บริษัท จี เอซ ซัพพลาย จำกัด กรุงเทพมหานคร อีกผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจากสบู่สมุนไพร ที่ได้รับการันตีด้วยการรับรอง GreenProduct รางวัล G ทอง ในปี 2564 มีการกำหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและมีการดำเนินการตามเป้าหมายที่ชัดเจน ควบคุมคุณภาพผลิตตามมาตรฐาน มีระบบการจัดการน้ำเสียจากกระบวนการผลิต และป้องกันผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม และมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาการผลิตสู่มาตรฐานสากล


ปลัด ทส. กล่าวทิ้งท้ายว่าการให้ความรู้ สร้างความตระหนักตั้งแต่ผู้บริหารจนถึงพนักงานทุกกระดับ
ให้เห็นถึงความสำคัญการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการผลิตและการบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เน้นส่งเสริมการมีส่วนร่วมในทุกระดับเป็นหัวใจสำคัญต่อผลสำเร็จในการขับเคลื่อนงาน G-Green ทิศทางการเปลี่ยนแปลงสู่วิถีใหม่ จึงเป็นวิถีที่ไม่ละเลยความรับผิดชอบต่อสังคมและส่วนรวม เป็นการเพิ่มภาพลักษณ์องค์กรในการเป็นผู้นำด้านสิ่งแวดล้อม การเพิ่มโอกาสการเข้าถึงและขยายตลาดสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้กับผู้บริโภค และที่สำคัญสามารถลดต้นทุนจากการใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม โทรศัพท์ o 2298 5653, 0 2278 8400 ต่อ 1661 หรือทาง FacebookFanpageกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และ เว็ปไซต์กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม www.deqp.go.th