ราชบุรี ฮือฮา หลวงพ่อทันใจ 6 แผ่นดิน นิ้วโป้งพระหัตถ์ขวามีเล็บงอกยาว

ราชบุรี   ฮือฮา หลวงพ่อทันใจ 6 แผ่นดิน พระพุทธรูปแกะสลักจากศิลาแรง ปางมารวิชัย นิ้วโป้งพระหัตถ์ขวาชี้ลงพื้นธรณี เกิดปรากฎการณ์เล็บงอกยาวสีเหลืองทอง เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำหมู่บ้านห้วยหมู ชาวบ้านต่างมาขอพรแล้วสำเร็จทันใจสมปรารถนา
.
(27 มี.ค. 64) พาไปกันที่วัดห้วยหมู ตั้งอยู่หมู่บ้านห้วยหมู หมู่ที่ 9 ต.เจดีย์หัก อ.เมือง จ.ราชบุรี ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อทันใจ (หลวงพ่อร้อยปีมุนีนาถ) พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำหมู่บ้านห้วยหมู เป็นพระพุทธรูปแกะสลักจากหินศิลาแรง “ปางมารวิชัย” อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ขวาวางคว่ำบนพระชานุ นิ้วพระหัตถ์ชี้ลงพื้นธรณี เป็นศิลปกรรมไทยสร้างสมัยรัตนโกสินทร์ ปี 2445 ตั้งอยู่ที่ด้านหน้าของอุโบสถเก่าร้อยปีที่สร้างโดยช่างชาวเขมร ที่ได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานที่หมู่บ้านห้วยหมู

หลวงพ่อทันใจ (หลวงพ่อร้อยปีมุนีนาถ) เป็นพระพุทธรูปที่ชาวบ้านห้วยหมูให้ความเคารพและศรัทธามายาวนานตั้งแต่เกิดหมู่บ้านห้วยหมู จากแรงศรัทธาในพระพุทธศาสนาของชาวบ้านห้วยหมูที่ต้องการมีที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ และทำบุญเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต ชาวบ้านต่างเชื่อและรำลือกันว่า หลวงพ่อทันใจ องค์นี้มีความศักดิ์สิทธิ์มาก ขอพรอะไรมักจะสำเร็จทันใจสมปรารถนาในทุกๆ เรื่อง แต่ที่สร้างความฮือฮาให้กับชาวบ้านที่เข้ามากราบไว้คือ ที่นิ้วโป้งพระหัตถ์ขวาชี้ลงพื้นธรณี เกิดปรากฎการณ์เล็บงอกยาวสีเหลืองทอง ที่เกิดจากหยดน้ำมันรักที่ทาองค์พระพุทธรูปเพื่อให้ชาวบ้านได้ปิดทอง หมดคล้ายคลึงกับหินยอกหินย้อยภายในถ้ำ หากมองไกลๆ แล้วเสมือนเล็บที่งอกออกมาจากนิ้วโป้งหัวแม่มือพระหัตขวา

นางสุพรตา ชมเชย ชาวชุมชนบ้านเอื้ออาทรราชบุรี หมู่ที่ 10 ต.เจดีย์หัก อ.เมือง กล่าวว่า ตนได้มีความเลื่อมใสศรัทธาต่อหลวงพ่อทันใจองค์นี้มากๆ เพราะตนเองมีความเดือนเนื้อร้อนใจ เกี่ยวกับบ้านที่อยู่อาศรัย จึงได้เข้ามากราบไหว้ และบนบานสารกล่าวต่อหลวงพ่อทันใจ เมื่อปี 2562 จนกระทั่งสามารถซื้อบ้านหลังที่อยู่อาศัยได้สำเร็จตามที่มาบนบานสารกล่าวไว้ ซึ่งสำเร็จทันใจไม่ถึง 2 สัปดาห์ และเมื่อราวเดือน สิงหาคม ปี2563 ตนได้มาขอพรจากหลวงพ่อทันใจ และสังเกตเห็นที่นิ้วมือหัวแม่โป้งพระหัตขวาเกิดปรากฎการณ์เล็บงอกยาวสีเหลืองทอง ที่เกิดจากหยดน้ำมันรักที่ทาองค์พระพุทธรูปเพื่อให้ชาวบ้านได้ปิดทอง มีการหยดคล้ายคลึงกับหินยอกหินย้อยภายในถ้ำ หากมองไกลๆ แล้วเสมือนเล็บที่งอกออกมาจากนิ้วโป้งหัวแม่มือพระหัตขวา ตนจึงได้ไปบอกต่อๆ กับชาวบ้าน สร้างความฮือฮาเป็นอย่างมาก
.
ขณะที่พระครูธรรมธรกษิดิ์เดช สุมิตฺโต พระเลขาเจ้าอาวาสวัดห้วยหมู กล่าวว่า วัดห้วยหมู เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้น เมื่อพ.ศ. 2445 รัตนโกสินทรศก 121 หรือ ร.ศ. 121 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัยรัชกาลที่ 5 โดยตามตำนานกล่าวว่าชาวเขมรเป็นผู้สร้างวัดขึ้น สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 9 ไร่ 1 งาน 57 ตารางวาเดิมสภาพพื้นที่วัดมีลำห้วยและมีรูปหมูป่ามาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก จึงมีการตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านห้วยหมู” ต่อมามีพระธุดงค์มาจากเขมร ได้มาปักกลด ซึ่งชาวบ้านได้เกิดความเลื่อมใสได้นิมนต์พระรูปดังกล่าวให้อยู่เพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้านห้วยหมู จึงได้สร้างที่พักสงฆ์ และตั้งวัดขึ้นพร้อมทั้งตั้งชื่อวัดให้สอดคล้องกับชื่อหมู่บ้าน
.
วัดห้วยหมูได้รับความอุปถัมภ์จากราษฎรห้วยหมูมาโดยตลอด ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2467 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 7 เมตร ยาว 13 เมตร การบริหารและการปกครองมีเจ้าอาวาส คือ รูปที่ 1 พระสาม รูปที่ 2 พระครูอมรธรรมรัตน์ (หลวงปู่พร้อม) และในปี พ.ศ. 2522 – 2527 พระครูสมุห์น้อย เป็นเจ้าอาวาสรูปที่ 3 ปี พ.ศ. 2528 – 2530 รูปที่ 4 คือ พระขวัญชัย และรูปที่ 5 พระครูจันทสีลากร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 ถึงปัจจุบัน   หลังจากที่ได้สร้างอุโบสถได้เริ่มก่อสร้างเมื่อปี 2545 และสร้างเสร็จเมื่อปี 2546 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2467 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 7 เมตร ยาว 13 เมตร พระครูอมรธรรมรัตน์ (หลวงปู่พร้อม) เจ้าอาวาส รูปที่ 2 ได้อัญเชิญ หลวงพ่อร้อยปีมุนีนาถ หรือ (หลวงพ่อทันใจ) มาประดิษฐานไว้ภายในโบสถ์ เพื่อให้ประชาชนเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ จนกระทั้งหลวงพระองค์ 4 พระขวัญชัย ได้นิมนต์หลวงพ่อร้อยปีมุนีนาถ (หลวงพ่อทันใจ) จากภายในอุโบสถ์มาตั้งที่ด้านหน้าอุโบสถ เพื่อให้ชาวบ้านที่มีแรงศรัทธาได้กราบไว้และปิดทองกัน พระครูธรรมธรกษิดิ์เดช สุมิตฺโต กล่าว


พระครูธรรมธรกษิดิ์เดช สุมิตฺโต เล่าต่อว่า จากนั้นเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน พระครูจันทสีลากร ได้ทำการบูรณะ อุโบสถและหลวงพ่อร้อยปีมุนีนาถ เมื่อปี 2560 และได้ขุดพบพระโบราณ จำนวนมากเช่นกัน และลูกนิมิตที่ทำจากหินสิลาแรง จำ 10 ลูก โดยได้นำมาตั้งไว้ที่ข้างพลวงร้อยปีมุนีนาถ ซึ่งชาวบ้านได้มากราบไหว้ และศรัทธาจำนวนมากทั้งในจังหวัดราชบุรี และ ในต่างจังหวัด จากนั้นพระครูจันทสีลากร เจ้าอาวาสวัดฯ ได้ตั้งชื่อจาก “หลวงพ่อร้อยปีมุนีนาถ” ขึ้นใหม่ว่า “หลวงพ่อทันใจ” เนื่องมีญาติโยมได้มากราบไหว้ขอพรและสำเร็จทันดัง สมปรารถนา และได้เรียกหลวงพ่อทันใจเรื่อยมา.
ประวิทย์ ลิ้มเจริญ รายงาน