ธนาคารปูม้า มทร.ศรีวิชัย เปิดกิจกรรมเสวนาและนำเสนอผลการดำเนินงานระดับจังหวัด

ธนาคารปูม้า มทร.ศรีวิชัย เปิดกิจกรรมเสวนาและนำเสนอผลการดำเนินงานระดับจังหวัดขยายผลโครงการธนาคารปูม้าเพื่อ “คืนปูม้าสู่ทะเลไทย” ภายใต้โครงการวิจัย “การจัดการและส่งเสริมธนาคารปูม้าแบบมีส่วนร่วม จังหวัดกระบี่ ระยะที่ 2 ตามมติครม.
ห้องประชุมโรงแรมบลูโซเทลสมาร์ท กระบี่ อ่าวนางบีช ดร.วิกิจ ผินรับ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง มทร.ศรีวิชัย หัวหน้าโครงการวิจัย “การจัดการและส่งเสริมธนาคารปูม้าแบบมีส่วนร่วมเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชนในจังหวัดตรังและกระบี่” ระยะที่ 2 จัดกิจกรรมเสวนาและนำเสนอผลการดำเนินงานระดับจังหวัดขยายผลโครงการธนาคารปูม้าเพื่อ “คืนปูม้าสู่ทะเลไทย” จังหวัดกระบี่ โดยได้รับเกียรติจาก นายสมชาย หาญภักดีปฏิมา รองผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ เป็นประธานเปิดพิธีกิจกรรมเสวนา และนำเสนอผลการดำเนินงานฯ โดยมี ตัวแทนศูนย์ศึกษาการพัฒนาและอนุรักษ์พันธุ์ปู ป่าทุ่งทะเลอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ประมงจังหวัดกระบี่ ประมงอำเภอ ชาวประมงเครือข่ายธนาคารปูม้ากระบี่ ร่วมให้การต้อนรับและร่วมเสวนาจำนวน 120 คน ประกอบด้วย จากธนาคารปูม้า จำนวน 17 ธนาคาร และ 3 ศูนย์การเรียนรู้รวม 20 ธนาคารปูม้า โอกาสนี้ รองผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ มอบโล่เกียรติคุณและเกียรติบัตรให้แก่ธนาคารปูม้าและศูนย์เรียนรู้ๆ ดีเด่น พื้นที่จังหวัดกระบี่ จำนวน 20 ธนาคาร และเยี่ยมชมนิทรรศการการรายงานผลการดำเนินงานฯ


โครงการดังกล่าว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง ได้รับทุนอุดหนุนการทำกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย ประจำปีงบประมาณ 2563 จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ โดยมีอาจารย์ ดร.วิกิจ ผินรับ เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย “การจัดการและส่งเสริมธนาคารปูม้าแบบมีส่วนร่วม เพื่อสร้างคุณภาพชิวิตที่ดีของชุมชนในจังหวัดตรังและกระบี่ ระยะที่ 2 รับผิดชอบใน 2 จังหวัด ตรังและกระบี่ โดยใช้หน่วยงานบูรณาการและความร่วมมือ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยในการขับเคลื่อน เพื่อช่วยให้มหาวิทยาลัยพัฒนางานที่มีคุณภาพได้ดีขึ้น โดยมีจำนวนธนาคารปูม้า ทั้ง 2 ระยะ ในพื้นที่ 5 อำเภอ คือ เกาะลันตา เมืองกระบี่ เหนือคลอง คลองท่อม และอ่าวลึก รวม 20 ธนาคาร ศูนย์การเรียนรู้ฯและจังหวัดตรัง 47 ธนาคาร ศูนย์เรียนรู้ฯ และจังหวัดตรัง 47 ธนาคาร ศูนย์เรียนรู้รวม 67 ธนาคาร /ศูนย์เรียนรู้ ได้ดำเนินการทำธนาคารปูม้าต้นแบบตามแนวทาง BCG Economy Model ณ เกาะสุกร อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง ทั้งนี้ ภายใต้โครงการมีกิจกรรมการเสวนา และนำเสนอผลการดำเนินงานระดับจังหวัด มีการนำเสนอผลการดำเนินงานของโครงการ จัดนิทรรศการธนาคารปูม้า มีตัวแทนธนาคารปูม้า/ศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้า ตัวแทนภาครัฐ ร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 120 คน ศูนย์การเรียนรู้ การจัดกิจกรรมนครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากผู้ร่วมวิจัย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย สำนักงานประมงจังหวัดกระบี่ และเครือข่ายพี่น้องธนาคารปู มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนในการทำธนาคารปูม้าแบบยั่งยืน สร้างอาชีพ สร้างผลิตภัณฑ์ สร้างรายได้ให้ชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป
มนต์เจริญ ศรีมงคล จ.ตรัง